วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล


เทปแม่เหล็ก (Megnetic Tape) 



     เป็นหน่วยเก็บข้อมูลที่ใช้กันมานานตั้งแต่คอมพิวเตอร์ยุคที่หนึ่งและยุคที่สอง ปัจจุบันได้รับความนิยมน้อยลง

 เทปแม่เหล็กมีหลักการทำงานคล้ายเทปบันทึกเสียง แต่เปลี่ยนจากการเล่น (play) และบันทัก (record)

 เป็นการอ่าน (read) และเขียน (write) แทน ในเครื่องเมนเฟรมเทปที่ใช้จะเป็นแบบม้วนเทป (reel-to-reel)

 ซึ่งเป็นวงล้อขนาดใหญ่ ในเครื่องมินิคอมพิวเตอร์จะใช้คาร์ทริดจ์เทป (cartidege tape) ซึ่งมีลักษณะคล้ายวีดีโอเทป

ส่วนในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จะใช้ตลับเทป (cassette tape) ซึ่งมีลักษณะเหมือนเทปเพลง 

เทปทุกชนิดที่กล่าวมามีหลักการทำงานคล้ายกับเทปบันทึกเสียง คือจะอ่านข้อมูลตามลำดับก่อนหลังตามที่ได้บันทึกไว้

เรียกหลักการนี้ว่าการอ่านข้อมูลแบบลำดับ (sequential access) การทำงานลักษณะนี้จึงเป็นข้อเสียของการ

ใช้เทปแม่เหล็กบันทึกข้อมูล คือทำให้อ่านข้อมูลได้ช้า เนื่องจากต้องอ่านข้อมูลในม้วนเทปไปเรื่อย ๆ

 จนถึงตำแหน่งที่ต้องการ ผู้ใช้จึงนิยมนำเทปแม่เหล็กมาสำรองข้อมูลเท่านั้น 

ส่วนข้อมูลที่กำลังใช้งานจะถูกเก็บอยู่บนหน่วยเก็บข้อมูลแบบ จานแม่เหล็ก (Megnetic Disk)

 เพื่อให้เรียกใช้ได้ง่าย และนำเฉพาะข้อมูลที่สำคัญและไม่ถูกเรียกใช้บ่อย ๆ มา เก็บสำรอง (back up) 


ไว้ในเทปแม่เหล็ก เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล


เครื่องอ่านเทปแม่เหล็ก
เทปแม่เหล็ก

ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/tech04/06/computer/web/web/yook3.htm


     ข้อดีของเทปแม่เหล็กคือสามารถบันทุก อ่านและลบกี่ครั้งก็ได้ รวมทั้งมีราคาต่ำ นอกจากนี้ยัง
สามารถบันทึกข้อมูลจำนวน

มาก ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ในสื่อที่มีขนาดใหญ่มากนัก ความจุของเทปแม่เหล็กจะมีหน่วยเป็น ไบต์ต่อนิ้ว (byte per inch) หรือ บีพี

ไอ (bpi) ซึ่งหมายถึงจำนวนตัวอักษรที่เก็บได้ในเทปยาวหนึ่งนิ้ว หรือเรียกได้อีกอย่างว่าความหนาแน่นของเทปแม่เหล็ก เทปแม่

เหล็กที่มีความหนาแน่นต่ำ จะเก็บข้อมูลได้ประมาณ 1,600 บีพีไอ ส่วนเทปแม่เหล็กที่มีความหนาแน่นสูง จะเก็บข้อมูลได้

ประมาณ 6,250 บีพีไอ นอกจากนี้ จะมีเทปแม่เหล็กรุ่นใหม่ ๆ คือ DAT (Digital Audio Tape) ซึ่งขนาดใหญ่กว่าเครดิตการ์ดเล็ก

น้อย แต่สามารถจุข้อมูลได้ 2 - 5 จิกะไบต์และ R-DATs ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า 14 จิกะไบต์ บนเทปที่ยาว 90 เมตร 

การที่เทปแม่เหล็กยังคงได้รับความนิยมให้เป็นสื่อที่เก็บสำรองข้อมูล ก็เพราะความเร็ว ความจุข้อมูล และราคานั่นเอง



จานแม่เหล็ก (Megnetic Disk) 


    
 จานแม่เหล็กสามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก และมีคุณสมบัติในการ เข้าถึงข้อมูลโดยตรง

(direct access) ไม่จำเป็นต้องอ่านไปตามลำดับเหมือนเทป จานแม่เหล็กจะต้องใช้คู่กับ ตัวขับจานแม่

เหล็ก หรือดิสก์ไดรฟ์ (disk drive) ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านเขียนจานแม่เหล็ก (มีหน้าที่คล้ายกับ

เครื่องเล่นเทป) จานแม่เหล็กเป็นสื่อที่ใช้หลักการของการ เข้าถึงข้อมูลแบบสุ่ม (random-access) นั่น

คือถ้าต้องการข้อมูลลำดับที่ 52 หัวอ่านก็จะตรงไปที่ข้อมูลนั้นและอ่านข้อมูลนั้นขึ้นมาใช้งานได้ทันที

ทำให้มีความเร็วในการอ่านและบันทึกที่สูงกว่าเทปมาก หัวอ่านของดิสก์ไดรฟ์นั้นเรียกว่า หัวอ่านและ

บันทึก (read/write head) เมื่อผู้ใช้ใส่แผ่นจานแม่เหล็กเข้าในดิสก์ไดรฟ์ แผ่นจานแม่เหล็กก็จะเข้าไป

สวมอยู่ในแกนกลม ซึ่งเป็นที่ยึดสำหรับหมุนแผ่นจานแม่เหล็ก จากนั้นหัวอ่านและบันทึกก็จะอ่าน

อิมพัลล์ของแม่เหล็ก (megnetic inpulse) บนแผ่นจานแม่เหล็กขึ้นมาและแปลงเป็นข้อมูลส่งเข้า

คอมพิวเตอร์ต่อไป หัวอ่านและบันทึกสามารถเคลื่อนย้ายในแนวราบเหสือผิวหน้าของจานแม่เหล็ก ถ้าใช้

จานแม่เหล็กที่มีผิวหน้าต่างกัน ก็ต้องใช้อ่านและบันทึกต่างชนิดกันด้วย นอกจากนี้ เนื่องจากดิสก์ไดรฟ์

นั้นเป็นเพียงอุปกรณ์เครื่องกลชนิดหนึ่งซึ่งอาจเกิดปัญหาขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องมีการเก็บสำรองข้อมูลและ

โปรแกรมที่ใช้อย่างสม่ำเสมอ
 
ก่อนที่จะใช้แผ่นจานแม่เหล็กเก็บข้อมูล จะต้องผ่านขั้นตอนของการ ฟอร์แมต (format) ก่อนเพื่อเตรียม

แผ่นจานแม่เหล็กให้พร้อมสำหรับเครื่องรุ่นที่จะใช้งาน (เช่น เครื่อง PC และ Mac จะมีฟอร์แมตที่ต่างกัน

แต่สามารถใช้แผ่นจานแม่เหล็กรุ่นเดียวกันได้) โดยหัวอ่านและบันทึกจะเขียนรูปแบบของแม่เหล็กลงบน

ผิวของแผ่นจานแม่เหล็ก เพื่อให้การบันทึกข้อมูลลงแผ่นจานแม่เหล็กในภายหลังทำตามรูปแบบดังกล่าว

การฟอร์แมตผ่านจานบันทึกจัดเป็นงานพื้นฐานหนึ่งของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

ที่มา : http://hardware.arip.co.th/?p=71
ที่มา : http://www.thepmitr.ac.th/dept/vkarn/computer/
jubpro/computer/hardware.htm

    
 ข้อมูลจะถูกบันทึกลงบนจานแม่เหล็กตามรูปแบบที่ได้ฟอร์แมตไว้แล้ว คือแบ่งในแนววงกลมรอบแกน

หมุนเป็นหลาย ๆ วง เรียกว่า แทรก (Track) แต่ละแทรกจะถูกแบ่งออกในแนวของขนมเค็กเรียกว่า เซก

เตอร์ (sector) และถ้ามีเซกเตอร์มากกว่าหนึ่งเซกเตอร์รวมกันเรียกว่า คลัสเตอร์ (cluster) นอกจากนี้

ในระบบคอมพิวเตอร์ส่วนมากจะมีตารางสำหรับจัดการข้อมูลในแผ่นจานแม่เหล็ก ซึ่งมีหน้าที่เก็บ

ตำแหน่งแทรกและเซกเตอร์ของข้อมูลที่อยู่ภายในจานแม่เหล็ก เรียกตารางนี้ว่า ตารางแฟต (FAT หรือ

File Allocation Table) ซึ่งตารางนี้ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถจัดการกับข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
  
ในปัจจุบันมีจานแม่เหล็กที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดอยู่ 2 ชนิด คือ ฟลอปปี้ดิสก์ (Floppy Disk) และ

ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) โดยเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่จำหน่านในปัจจุบันจะมีดิกส์ไดรฟ์ปละ

ฮาร์ดดิสก์ติดมาด้วยเสมอ

ฟลอปปีดิสก์ และดิสก์ไ
ดรฟ์
 
 ฟลอปปีดิสก์ เป็นแผ่นพลาสติกวงกลม มีขนาด 3.5 นิ้ว และ 5.25 นิ้ว (วัดจากเส้นรอบวงของวงกลม)

สามารถอ่านได้ด้วยดิสก์ไดรฟ์ แผ่นชนิด 3.5 นิ้วเป็นรุ่นใหม่กว่าบรรจุอยู่ในพลาสติกแบบแข็ง ส่วนขนาด

5.25 นิ้วซึ่งไม่ได้รับความนิยมในปัจจุบันแล้ว จะบรรจุอยู่ในพลาสติกที่แข็งกว่าแผ่นดิสเก็ตต์ แต่ยัง

สามารถหักงอได้ เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้จะมีดิสก์ไดรฟ์หนึ่งหรือสองช่องเสมอ ดิสก์

ไดรฟ์มีหน้าที่สองอย่าง คือ อ่านและบันทึก โดยการอ่านมีหลักการทำงานคล้ายกับการเล่นซีดีเพลง

ส่วนการบันทึกมีหลักการทำงานคล้ายกับการบันทึกเสียงลงในเทปบันทึกเสียง ต่างกันก็ตรงที่ผู้ใช้ไม่

ต้องกดปุ่มใด ๆ เมื่อต้องการบันทึกข้อมูล เพราะโปรแกรมที่ใช้งานจะจัดการให้โดยอัตโนมัติ แผ่นดิส

เก็ตต์ จะมี แถบป้องกันการบันทึก (write-protection) อยู่ด้วย ผู้ใช้สามารถเปิดแถบนี้เพื่อห้องกันไม่ให้

มีการบันทึกข้อมูลอื่นทับไปหรือลบข้อมูลทิ้ง

ฟลอปปีดิสก์ (floppy disk)
ดิสก์ไดรฟ์ (disk drive)
ที่มา : http://www.navy34.com/index.php/com-hardware/233-ram-hardware

     
จำนวนข้อมูลที่เก็บอยู่ในแผ่นดิสเก็ตต์ จะขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของสารแม่เหล็กบนผิวของแผ่นดิส

เก็ตต์ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ดิสก์ความจุสองเท่า (double density) ซึ่งจะเก็บข้อมูลได้

มากกว่าดิสก์ที่มีความจุเท่าเดียวที่นิยมใช้ในสมัยก่อน ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ ดิสก์ความจุสูง (high

density) ซึ่งจะเก็บข้อมูลได้มากกว่าดิสก์ที่มีความจุเป็นสองเท่า และเป็นดิสก์ที่นิยมใช้งานกันอยู่ทั่วไป

ออปติคัลดิสก์ (Optical Disk)


    
 มีหลักการทำงานคล้ายกับการเล่นซีดี (CD) เพลง คือใช้เทคโนโลยีของแสงเลเซอร์ ทำให้สามารถเก็บ

ข้อมูลได้จำนวนมหาศาลในราคาไม่แพงนักในปัจจุบันจะมีออปติคอลอยู่หลายแบบซึ่งใช้เทคโนโลยีที่

แตกต่างกันไป คือ ซีดีรอม (CD-ROM หรือ Computer Disk Read Only Memory) 

ที่มา : http://www.streesmutprakan.ac.th/
teacher/techno/WEB%20_JAN/p07/p7.html
ที่มา : http://www.rmu.ac.th/~bandit/elearning/content/lesson2/203.html

     
แผ่นซีดีรอมจะมีลักษณะคล้ายซีดีเพลงมาก สามารถเก็บข้อมูลได้สูงถึง 650 เมตร เมกะไบต์ต่อแผ่น

การใช้งานแผ่นซีดีรอมจะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวซีดีรอมไดร์ฟ (CD-ROM Drive) ซึ่งจะมีหลาย

ชนิดขึ้นกับความเร็วในการทำงาน ซีดีรอมไดร์ฟรุ่นแรกสุดนั้นมีความเร็วในการอ่านข้อมูลที่ 150 กิโลไบต์

ต่อวินาที เรียกว่ามีความเร็ว 1 เท่าหรือ 1x ซีดีรอมไดร์ฟรุ่นหลัง ๆ จะอ้างอิงความเร็วในการอ่านข้อมูล

จากรุ่นแรก เช่น ความเร็ว 2 เท่า (2x) ความเร็ว 4 เท่า(4x) ไปจนถึง 50 เท่า (50x) เป็นต้น
 หน่วยรับข้อมูล (Input unit ) ทำหน้าที่ป้อนคำสั่งเข้าไป ซึ่งหน่วยรับข้อมูลนี้เอง

เปรียบเสมือน

การมองเห็นของตา การได้ยินของหู การได้กลิ่นของจมูก อุปกรณ์ Input unit มี

มากมายหลายหลาย

รูปแบบ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
  
1. หน่วยป้อนข้อมูลเข้าหลัก (Primary Input) คืออุปกรณ์ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง

จำเป็นต้องมี
  
2. หน่วยป้อนข้อมูลเสริม (Alternative Input) คืออุปกรณ์ที่จะมีหรือไม่ก็ได้

คอมพิวเตอร์ก็สามารถทำงานได้ แต่ถ้ามีจะช่วยเพิ่มความสามารถในการป้อนข้อมูล

เข้า เช่น การนำเข้ารูป เสียง เป็นต้น

หน่วยป้อนข้อมูลเข้าหลัก (Primary Input)

 - เมาส์ (Mouse)

 - คีย์บอร์ด (Keyboard)




ภาพอุปกรณ์นำเข้าเมาส์ และคีย์บอร์ด
ที่มา : http://www.rmutphysics.com/CHARUD/oldnews/265/wireless/cp4_2.html


หน่วยป้อนข้อมูลเสริม (Alternative input)



สแกนเนอร์ (Scanner)



กล้อง (Camera)


ไมโครโฟน (Microphone)


ปากกาแสง


จอยสติ๊ก

อ้างอิง

http://computer.kapook.com/equpiment.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น