วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเขียนแผ่น CD/DVD


บทความแสดงตัวอย่างการเขียนแผ่นซีดี\ดีวีดีด้วย Nero Burning Rom? แบบต่างๆ เช่น เขียนแผ่นซีดีข้อมูล แผ่น MP3 แผ่นวิซีดี ฯลฯ
?

การเข้าโปรแกรม
การเข้าโปรแกรมจะเรียกใช้งานจากหน้าจอ Nero StartSmart
1. คลิกปุ่ม Show/Hide Applications and Help
2. คลิกชื่อโปรแกรม Nero Burning Rom

หน้าจอโปรแกรม 


ส่วนประกอบต่างๆ ของหน้าจอโปรแกรม

1. เมนูคำสั่ง
2. แถบเครื่องมือ
3. ในการเข้าโปรแกรมทุกครั้ง จะปรากฏกรอบข้อความ New Compilation เพื่อให้เลือกการ ทำงานที่ต้องการ ก็สามารถคลิกเลือกลักษณะการเขียนซีดีที่ต้องการได้เลย หรือคลิก Cancel เพื่อปิด กรอบข้อความนี้
4. ส่วน File Browser เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลในเครื่อง ให้คลิกที่ไดรว์และโฟลเดอร์ที่เก็บ ข้อมูลไว้ ก็คือ ไดรว์ E: โฟลเดอร์ TempCDRW (เครื่องของผู้อ่านจะไม่เหมือนในหนังสือ)
5. ถ้าหน้าจอ File Browser ไม่ปรากฏบนจอ อาจถูกปิดไว้ ก็คลิกเลือกในคำสั่ง View
6. ส่วนแสดงรายชื่อข้อมูลที่จะถูกนำไปเขียนลงแผ่น

ตัวเลือกในการเขียนซีดีแบบต่างๆ 


1. CD/DVD ตัวเลือกสำหรับเขียนข้อมูลลงแผ่นซีดีหรือดีวีดี 
2. รูปแบบการเขียนซีดีแบบต่างๆ 
- CD-ROM (ISO)
- Audio_CD
- Mixed Mode CD
- CD EXTRA
- CD Copy
- Video CD
- Super Video CD
- MiniDVD
- CD-ROM (Boot)
- CD-ROM (UDF)
- CD-ROM(UDF/ISO)
- Audiobook CD
3. รูปแบบการเขียน DVD แบบต่างๆ

- DVD-ROM(ISO)
- DVD Copy
- DVD-Video
- DVD-ROM(Boot)
- DVD-ROM(UDF)
- DVD_ROM (UDF/ISO)

กำหนดค่าก่อนใช้งานโปรแกรม

เลือกเครื่องเขียนที่จะใช้งาน


กรณีที่มีเครื่องเขียนซีดีมากกว่าหนึ่งตัว ก็สามารถเลือกตัวที่ต้องการได้ ว่าจะเขียนด้วยตัวใด 
1. คลิกเมนู Recorder>>Choose Recoder
2. คลิกเลือกเครื่องเขียนที่ต้องการ โดยคลิกชื่อแล้วคลิกปุ่ม OK อาจคลิกปุ่ม Eject ก่อน ก็ได้ เพื่อให้เครื่องเปิดถาดออกมา จะได้รู้ว่าเครื่องที่เลือกเป็นตัวไหน
3. Image Recorder ตัวเลือกสำหรับการเขียนข้อมูลเป็นอิมเมจไฟล์เก็บไว้


การใช้งานแผ่น CD-RW
 ด้วย Nero Burning ROM

ในการศึกษาวิธีการเขียนข้อมูลลงซีดีด้วยโปรแกรม Nero, Easy CD Creator หรือโปรแกรม ใดๆ ก็ตาม ผู้เขียนแนะนำให้ซื้อแผ่นซีดีที่สามารถเขียนซ้ำได้ ลบได้หรือแผ่น CD-RW มาใช้งานสัก แผ่นและใช้แผ่นนี้เป็นแผ่นทดลองบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดี หรือไม่ก็เขียนเป็นอิมเมจไฟล์ก็ได้
การฟอร์แมทแผ่นก่อนใช้งาน

เมื่อซื้อแผ่น CD-RW มาใช้งาน ก่อนอื่นให้จัดการฟอร์แมทก่อน เพื่อจัดระบบจัดโครงสร้าง ภายในแผ่น ให้พร้อมสำหรับการจัดเก็บข้อมูล
การใช้งานแผ่น CD-RW ด้วย Nero Burning ROM

1. เข้าโปรแกรม Nero ใส่แผ่น CD-RW เข้าไป แล้วคลิกเมนู Recorder>>Erase Rewritable Disc
2. จะปรากฏกรอบข้อความ ให้เลือกลักษณะการลบข้อมูล ถ้าเป็นการใช้งานครั้งแรก ก็ควร เลือกแบบ Full erase แล้วคลิกปุ่ม Erase เพื่อเริ่มต้นทำงาน
- Full-erase rewritable disc เป็นการลบข้อมูลจริงๆ คล้ายกับการฟอร์แมทแผ่นดิสก์ หรือ ฮาร์ดดิสก์ จะทำให้ข้อมูลถูกลบล้างออกไปทั้งหมด จะใช้เวลาลบนานหลายนาทีเหมือนกัน 
- Quickly-erase rewritable disc เป็นการลบข้อมูลแบบเร็ว โปรแกรมจะยังไม่ลบข้อมูล ออกจากแผ่นจริงๆ เพียงแต่ทำเครื่องหมายไว้ว่าไฟล์นั้นๆ ถูกลบไปแล้ว ในการทดลองเขียนซีดีแบบ ต่างๆ เมื่อได้ทดลองทำแต่ละแบบและทดสอบการใช้งานเสร็จแล้ว ก็สามารถลบข้อมูลภายในแผ่นด้วย ตัวเลือกนี้ เพื่อไว้ฝึกเขียนซีดีแบบอื่นๆ ต่อไป 
3. หลังจากลบเสร็จแล้ว ก็จะดีดแผ่นออก ก็จะได้แผ่นเปล่าไว้ฝึกเขียนข้อมูลต่อไป เขียน แต่ละแบบเสร็จแล้วนำมาลบ ลบแล้วก็เขียนใหม่จนกว่าจะชำนาญ คราวนี้ก็เขียนลงแผ่นจริงได้เลย เพราะถ้าใช้แผ่น CD-R จริงๆ เป็นตัวทดลอง ก็คงต้องใช้หลายแผ่น
สำหรับการใช้งานแผ่น DVD-RW หรือ DVD+RW ซึ่งเป็นแผ่นที่สามารถเขียนซ้ำและลบได้ เหมือนแผ่น CD-RW วิธีการใช้งาน การฟอร์แมทก็คล้ายกัน

การเขียนซีดีเก็บข้อมูลทั่วๆ ไป


เมื่อเราเข้าโปรแกรม Windows Explorer สิ่งที่เราเห็นในหน้าจอก็คือข้อมูลต่างๆ นั่นเอง ถ้า ต้องการก็อปปี้ข้อมูลชนิดใดลงแผ่นซีดีก็จัดการได้เลย ก่อนอื่นก็จัดการก็อปปี้ข้อมูลที่ต้องการไปพัก รอไว้ในโฟลเดอร์ TempCDRW ให้เรียบร้อยก่อน
1. คลิกปุ่ม New 
2. คลิกเลือก CD-ROM (ISO)
3. คลิกแท็ป Multisession
4. คลิกเลือก No Multisession
5. คลิกแท็ป ISO
6. คลิกเลือก Data Mode = Mode 2/xA
7. คลิกแท็ป Label
8. คลิกและพิมพ์ชื่อแผ่นซีดีตามต้องการเช่น My Data1
9. คลิกปุ่ม New ตัวเลือกอื่นๆ ไว้กำหนดค่าภายหลัง
10. คลิกเลือกไดรว์ที่เก็บโฟลเดอร์ที่ได้ก็อปปี้ข้อมูลไปพักไว้ จากตัวอย่างจะเป็นไดรว์ E:
11. ดับเบิ้ลคลิกโฟลเดอร์ TempCDRW
?
12. เลือกข้อมูลที่ต้องการ โดยคลิกปุ่มขวาของเมาส์ที่ไฟล์หรือโฟลเดอร์ในช่องด้านขวามือ เพื่อเรียกคำสั่งลัด
13. คลิกคำสั่ง Select All เพื่อเลือกข้อมูลทั้งหมด
14. คลิกขวาในส่วนของไฟล์ที่ถูกเลือกอีกครั้ง แล้วคลิกคำสั่ง Copy to Compilation
15. ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้รอเขียนลงแผ่นซีดี
16. ดูขนาดข้อมูล ต้องไม่ให้เกิน 700 MB ขีดแดง ถ้าเกินจะเขียนลงแผ่นไม่ได้
17. กรณีข้อมูลเยอะเกินไป เกิน 700 MB หรือเกินความจุของแผ่น เกินขีดแดง ก็ลบออก โดยคลิกปุ่ม ขวาที่ชื่อไฟล์หรือโฟลเดอร์แล้วคลิกคำสั่ง Delete
18. คลิกปุ่ม Yes ลบออกไป ข้อมูลจะถูกลบออกจากรายชื่อไฟล์ที่จะเขียนลงแผ่นซีดีเท่านั้น ไม่ได้ลบออกไปจากเครื่อง ยังอยู่ดี
19. ใส่แผ่นซีดีเปล่าเข้าไปในถาดใส่แผ่นซีดี แล้วคลิกปุ่ม Burn หรือคลิกเมนู Recorder>> Burn Compilation
20. คลิกเลือก Write และ Finalize Disc...
21. คลิกเลือกความเร็วในการเขียน ต้องดูแผ่นซีดีที่ใช้ ว่ารองรับการเขียนข้อมูลที่ความเร็ว เท่าไร เช่น แผ่นซีดีนั้นๆรองรับที่ 2x-56x ก็ลองสักกลางๆ ดูก่อน ไม่เกิน 40x ในความเป็นจริงไม่มี ทางที่จะเขียนได้ที่ความเร็วตามที่ระบุ มีตัวแปรหลายอย่างที่ทำอย่างนั้นไม่ได้
22. อาจคลิกติ๊กถูก Determine Maximum Speed เพื่อให้โปรแกรมทำการทดสอบความเร็ว ในการเขียนที่เครื่องสามารถทำได้จริง เพื่อเป็นแนวทางต่อไป จะได้เลือกใช้ความเร็วที่เครื่องของคุณ ทำได้ กับการเขียนจริงๆ
23. ในส่วน Write Method คลิกเลือก Track-at-once
24. ในส่วน Number of copies คลิกและพิมพ์จำนวนก็อปปี้ต้องการเขียนกี่แผ่นก็พิมพ์ลง ไปตามนั้น จากตัวอย่างต้องการเขียนแผ่นเดียวเท่านั้น
25. คลิกปุ่ม Burn เพื่อเริ่มต้นเขียนซีดี
26. ถ้ามีเครื่องเขียนซีดีมากกว่าหนึ่งตัว และต้องการเขียนทีเดียวพร้อมกันทุกตัว ก็ใส่แผ่น ซีดีเปล่าเข้าไปให้เรียบร้อยก่อน แล้วคลิกติ๊กถูก Use multiple recorders
27. เมื่อคลิกปุ่ม Burn ก็จะปรากฏกรอบข้อความ ให้เลือกเครื่องเขียน คลิกที่ตัวแรกก็คือ LITE-ON CD-RW SOHR-5239V กดปุ่ม Ctrl ที่แป้นพิมพ์ค้างไว้ แล้วคลิกเลือกอีกตัว เมื่อถูกเลือก ก็จะเป็นแถบสีน้ำเงิน เสร็จแล้วก็คลิกปุ่ม OK
28. ตัวเลือก Image Recorder ห้ามคลิกเลือก ตัวนี้จะเป็นการเขียนเป็นอิมเมจไฟล์ เก็บเป็น ไฟล์ไว้ในแผ่นซีดีและเก็บไว้ในเครื่อง
29. โปรแกรมจะเริ่มเขียนข้อมูลลงแผ่น เขียนเสร็จแล้วก็จะแจ้งดังรูปก็คลิกปุ่ม OK

ปิดงานและลบไฟล์ในโฟลเดอร์ชั่วคราว


1. ถ้าไม่ต้องการทำอะไรแล้ว ก็ปิดไฟล์ข้อมูลที่เขียนลงซีดี โดยคลิกเมนู File>>Close 
2.. จะปรากฏกรอบข้อความ ถามว่าต้องการบันทึกงานเก็บไว้หรือไม่ ถ้าคิดว่าจะเขียนข้อมูล เหล่านี้ลงแผ่นอีกครั้ง ในภายหลัง ก็คลิกปุ่ม Yes แล้วตั้งชื่อไฟล์ ถ้าไม่เก็บไว้ก็คลิกปุ่ม No
?

3. ไปที่โฟลเดอร์ TempCDRW เพื่อไปลบข้อมูลออกไป เพราะตอนนี้ได้เขียนลงแผ่นซีดี เรียบร้อยแล้ว เก็บไว้ในเครื่องก็เปลืองพื้นที่เปล่าๆ เพราะข้อมูลจริงๆ ก็ยังอยู่ ตัวนี้เป็นเพียงตัวที่เรา ได้ก็อปปี้มาไว้เพื่อเขียนซีดีเท่านั้น เขียนเสร็จแล้วก็ลบทิ้งได้เลย นอกเสียจากในข้อที่ 2 จะได้เลือก Yes เพื่อบันทึกเก็บไว้ กรณีนี้ห้ามลบ เพราะจะเรียกใช้งานเพื่อเขียนซีดีในภายหลังไม่ได้
4. การลบก็เลือกข้อมูลหรือไฟล์ที่ต้องการ โดยคลิกที่ไฟล์ใดๆ ในช่องขวามือ แล้วกด Ctrl + A ที่แป้นพิมพ์ จากนั้นกดปุ่ม Delete ที่แป้นพิมพ์ หรือคลิกขวา แล้วคลิก Delete ก็ได้
5. คลิกปุ่ม Yes

ทดสอบการใช้งานแผ่น

1. เข้าโปรแกรม Windows Explorer ใส่แผ่นซีดีเข้าไป คลิกปุ่มขวาที่ซีดีรอมไดรว์ เรียก คำสั่งลัด จากนั้นคลิก Search
2. ในกรอบข้อความที่ปรากฏขึ้นมา ให้คลิกในช่อง All or part of the file name แล้วพิมพ์ *.* จากนั้นคลิกปุ่ม Search
3. โปรแกรมจะเริ่มต้นอ่านข้อมูลในแผ่นทั้งหมด ถ้าสามารถอ่านได้ทุกไฟล์ โดยแสดงออก มาในช่องด้านขวามือ ก็พอจะเชื่อใจได้ว่าไม่มีปัญหา แต่ถ้าอ่านติดๆ ขัดๆ แผ่นอาจจะใช้ไม่ได้
ก็คงจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในการทดสอบการอ่านข้อมูลในแผ่น ต้องใช้โปรแกรมแนวนี้จริงๆ


การเขียนซีดีรวมเพลง MP3


แผ่นซีดีเพลง MP3 ที่มีวางขายส่วนใหญ่จะรวมเพลงทั้งหมดของศิลปิน ก็แน่นอนว่าไม่เพราะ ทุกเพลง ดังนั้นหลายๆ คนก็อยากจะรวบรวมเอาเฉพาะเพลงโปรดของตนมาไว้ในแผ่นเดียว จะได้ไม่ต้อง พกพาหลายๆ แผ่น เราก็จะใช้การเขียนซีดีตามตัวอย่างนี้
1. คลิกปุ่ม New
2. คลิกเลือก CD-ROM(ISO)
3. คลิกแท็บ Multisession 
4. คลิกเลือก No Multisession
5. คลิกแท็บ ISO
6. กำหนดค่าตามตัวอย่าง
7. คลิกแท็บ Label
8. คลิกช่อง Disc name พิมพ์ชื่อแผ่น แล้วคลิกปุ่ม New
?
9. จัดการก็อปปี้ข้อมูลในโฟลเดอร์ TempCDRW ในส่วน File Browser ไปไว้ในส่วนเก็บ ข้อมูลรอเขียนลงแผ่นซีดี
10. เริ่มต้นบันทึกข้อมูลโดยคลิกเมนู Recorder>>Burn Compilation หรือคลิกปุ่ม Burn

11. ในกรอบข้อความที่ปรากฏขึ้นมา ให้ใส่แผ่นเปล่า แล้วคลิกปุ่ม Burn

การเขียนซีดีรวมเพลง WMA หรือ MP4


ขั้นตอนต่างๆ ก็เหมือนกันกับการเขียนแผ่นซีดีรวมเพลงทุกอย่าง ต่างกันก็เพียงข้อมูลเท่านั้น แทนที่จะเป็นไฟล์เพลงแบบ MP3 ก็รวบรวมเฉพาะไฟล์แบบ WMA หรือ MP4 ลงเก็บในแผ่นซีดี ถ้า เครื่องเล่นซีดีสามารถเล่นได้ทั้ง MP3 และ WMA ก็สามารถเขียนไฟล์ทั้งสองแบบลงเก็บในแผ่นเลย ก็ได้ ไม่มีปัญหา เปิดฟังได้อยู่แล้ว
?

การเขียนแผ่นซีดีออดิโอ


เป็นการเขียนแผ่นออดิโอซีดีหรือแผ่นซีดีเพลง
1. ในหน้าจอ Nero Burning ROM คลิก File>>New หรือปุ่ม New
2. คลิกเลือก Audio-CD
3. คลิกแท็ป Audio
4. คลิกติ๊กถูก Normalize all audio files เพื่อปรับระดับเสียงให้ได้มาตรฐาน ให้ทุกเพลงมี ระดับเสียงเท่ากัน 
5. คลิกแท็ป Burn ใส่แผ่นซีดีเปล่าเข้าไป แล้วกำหนดค่าตามตัวอย่าง 
6. คลิกปุ่ม New

7. คลิกเลือกโฟลเดอร์ TempCDRW
8. เลือกเพลงทั้งหมด โดยคลิกที่เพลงแรก กดปุ่ม Shift ค้างไว้ แล้วคลิกเพลงสุดท้าย
9. ชี้ลูกศรที่ชื่อเพลงใดเพลงหนึ่ง ที่ได้เลือกไว้ แล้วคลิกปุ่มขวาของเมาส์ เรียกคำสั่งลัด แล้ว คลิกคำสั่ง Copy to Compilation
10. รายชื่อเพลงก็จะถูกก็อปปี้ไปรอเขียนลงซีดี สามารถลองฟังเสียงได้ โดยคลิกชื่อเพลงแล้ว คลิกปุ่ม Play
11. สามารถย้ายตำแหน่งเพลงก่อนหลังได้เช่นกัน โดยลากลงด้านล่างหรือขึ้นด้านบน
12. ถ้าต้องการแก้ไข ก็คลิกชื่อเพลง แล้วคลิกปุ่ม Edit หรือปุ่ม Play เพื่อฟัง
13. โปรแกรม Nero Wave Editor ก็จะถูกเปิดขึ้นมา ก็จัดการปรับแต่งเสียงได้ตามต้องการ แล้วบันทึกเก็บไว้ และก็ออกจากโปรแกรม


14. เริ่มต้นเขียน CD โดยคลิกปุ่ม Burn
15. กำหนดค่าตามตัวอย่าง Write Speed ไม่ควรกำหนดค่าสูงมาก อาจทำให้แผ่นเสีย แต่ ก็คงต้องทดลองดู ตามปกติการเขียนแผ่นเพลงออดิโอ แผ่นวีซีดี จะไม่ใช้ความเร็วสูง เพราะจะมีการ บีบอัดข้อมูลค่อนข้างมาก การใช้ความเร็วสูงอาจทำให้การอ่านแผ่นตกร่องหรือกระตุก
16. เขียนเสร็จแล้ว ก็ปิดงานโดยคลิกเมนู File>>Close


ลบข้อมูลในโฟลเดอร์ TempCDRW 

จัดการลบข้อมูลในโฟลเดอร์ TempCDRW แต่ถ้าจะเผื่อไว้เขียนซีดีในภายหลัง ก็จัดการสร้าง โฟลเดอร์ย่อยเช่น Audio Disc01 แล้วย้ายไฟล์แบบ Wav ไปไว้ด้านใน 
1. เลือกไฟล์ทั้งหมดในโฟลเดอร์ TempCDRW แล้วกดปุ่ม Delete ที่แป้นพิมพ์เพื่อลบ
2. คลิกปุ่ม Yes ยืนยันการลบ

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล


เทปแม่เหล็ก (Megnetic Tape) 



     เป็นหน่วยเก็บข้อมูลที่ใช้กันมานานตั้งแต่คอมพิวเตอร์ยุคที่หนึ่งและยุคที่สอง ปัจจุบันได้รับความนิยมน้อยลง

 เทปแม่เหล็กมีหลักการทำงานคล้ายเทปบันทึกเสียง แต่เปลี่ยนจากการเล่น (play) และบันทัก (record)

 เป็นการอ่าน (read) และเขียน (write) แทน ในเครื่องเมนเฟรมเทปที่ใช้จะเป็นแบบม้วนเทป (reel-to-reel)

 ซึ่งเป็นวงล้อขนาดใหญ่ ในเครื่องมินิคอมพิวเตอร์จะใช้คาร์ทริดจ์เทป (cartidege tape) ซึ่งมีลักษณะคล้ายวีดีโอเทป

ส่วนในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จะใช้ตลับเทป (cassette tape) ซึ่งมีลักษณะเหมือนเทปเพลง 

เทปทุกชนิดที่กล่าวมามีหลักการทำงานคล้ายกับเทปบันทึกเสียง คือจะอ่านข้อมูลตามลำดับก่อนหลังตามที่ได้บันทึกไว้

เรียกหลักการนี้ว่าการอ่านข้อมูลแบบลำดับ (sequential access) การทำงานลักษณะนี้จึงเป็นข้อเสียของการ

ใช้เทปแม่เหล็กบันทึกข้อมูล คือทำให้อ่านข้อมูลได้ช้า เนื่องจากต้องอ่านข้อมูลในม้วนเทปไปเรื่อย ๆ

 จนถึงตำแหน่งที่ต้องการ ผู้ใช้จึงนิยมนำเทปแม่เหล็กมาสำรองข้อมูลเท่านั้น 

ส่วนข้อมูลที่กำลังใช้งานจะถูกเก็บอยู่บนหน่วยเก็บข้อมูลแบบ จานแม่เหล็ก (Megnetic Disk)

 เพื่อให้เรียกใช้ได้ง่าย และนำเฉพาะข้อมูลที่สำคัญและไม่ถูกเรียกใช้บ่อย ๆ มา เก็บสำรอง (back up) 


ไว้ในเทปแม่เหล็ก เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล


เครื่องอ่านเทปแม่เหล็ก
เทปแม่เหล็ก

ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/tech04/06/computer/web/web/yook3.htm


     ข้อดีของเทปแม่เหล็กคือสามารถบันทุก อ่านและลบกี่ครั้งก็ได้ รวมทั้งมีราคาต่ำ นอกจากนี้ยัง
สามารถบันทึกข้อมูลจำนวน

มาก ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ในสื่อที่มีขนาดใหญ่มากนัก ความจุของเทปแม่เหล็กจะมีหน่วยเป็น ไบต์ต่อนิ้ว (byte per inch) หรือ บีพี

ไอ (bpi) ซึ่งหมายถึงจำนวนตัวอักษรที่เก็บได้ในเทปยาวหนึ่งนิ้ว หรือเรียกได้อีกอย่างว่าความหนาแน่นของเทปแม่เหล็ก เทปแม่

เหล็กที่มีความหนาแน่นต่ำ จะเก็บข้อมูลได้ประมาณ 1,600 บีพีไอ ส่วนเทปแม่เหล็กที่มีความหนาแน่นสูง จะเก็บข้อมูลได้

ประมาณ 6,250 บีพีไอ นอกจากนี้ จะมีเทปแม่เหล็กรุ่นใหม่ ๆ คือ DAT (Digital Audio Tape) ซึ่งขนาดใหญ่กว่าเครดิตการ์ดเล็ก

น้อย แต่สามารถจุข้อมูลได้ 2 - 5 จิกะไบต์และ R-DATs ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า 14 จิกะไบต์ บนเทปที่ยาว 90 เมตร 

การที่เทปแม่เหล็กยังคงได้รับความนิยมให้เป็นสื่อที่เก็บสำรองข้อมูล ก็เพราะความเร็ว ความจุข้อมูล และราคานั่นเอง



จานแม่เหล็ก (Megnetic Disk) 


    
 จานแม่เหล็กสามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก และมีคุณสมบัติในการ เข้าถึงข้อมูลโดยตรง

(direct access) ไม่จำเป็นต้องอ่านไปตามลำดับเหมือนเทป จานแม่เหล็กจะต้องใช้คู่กับ ตัวขับจานแม่

เหล็ก หรือดิสก์ไดรฟ์ (disk drive) ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านเขียนจานแม่เหล็ก (มีหน้าที่คล้ายกับ

เครื่องเล่นเทป) จานแม่เหล็กเป็นสื่อที่ใช้หลักการของการ เข้าถึงข้อมูลแบบสุ่ม (random-access) นั่น

คือถ้าต้องการข้อมูลลำดับที่ 52 หัวอ่านก็จะตรงไปที่ข้อมูลนั้นและอ่านข้อมูลนั้นขึ้นมาใช้งานได้ทันที

ทำให้มีความเร็วในการอ่านและบันทึกที่สูงกว่าเทปมาก หัวอ่านของดิสก์ไดรฟ์นั้นเรียกว่า หัวอ่านและ

บันทึก (read/write head) เมื่อผู้ใช้ใส่แผ่นจานแม่เหล็กเข้าในดิสก์ไดรฟ์ แผ่นจานแม่เหล็กก็จะเข้าไป

สวมอยู่ในแกนกลม ซึ่งเป็นที่ยึดสำหรับหมุนแผ่นจานแม่เหล็ก จากนั้นหัวอ่านและบันทึกก็จะอ่าน

อิมพัลล์ของแม่เหล็ก (megnetic inpulse) บนแผ่นจานแม่เหล็กขึ้นมาและแปลงเป็นข้อมูลส่งเข้า

คอมพิวเตอร์ต่อไป หัวอ่านและบันทึกสามารถเคลื่อนย้ายในแนวราบเหสือผิวหน้าของจานแม่เหล็ก ถ้าใช้

จานแม่เหล็กที่มีผิวหน้าต่างกัน ก็ต้องใช้อ่านและบันทึกต่างชนิดกันด้วย นอกจากนี้ เนื่องจากดิสก์ไดรฟ์

นั้นเป็นเพียงอุปกรณ์เครื่องกลชนิดหนึ่งซึ่งอาจเกิดปัญหาขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องมีการเก็บสำรองข้อมูลและ

โปรแกรมที่ใช้อย่างสม่ำเสมอ
 
ก่อนที่จะใช้แผ่นจานแม่เหล็กเก็บข้อมูล จะต้องผ่านขั้นตอนของการ ฟอร์แมต (format) ก่อนเพื่อเตรียม

แผ่นจานแม่เหล็กให้พร้อมสำหรับเครื่องรุ่นที่จะใช้งาน (เช่น เครื่อง PC และ Mac จะมีฟอร์แมตที่ต่างกัน

แต่สามารถใช้แผ่นจานแม่เหล็กรุ่นเดียวกันได้) โดยหัวอ่านและบันทึกจะเขียนรูปแบบของแม่เหล็กลงบน

ผิวของแผ่นจานแม่เหล็ก เพื่อให้การบันทึกข้อมูลลงแผ่นจานแม่เหล็กในภายหลังทำตามรูปแบบดังกล่าว

การฟอร์แมตผ่านจานบันทึกจัดเป็นงานพื้นฐานหนึ่งของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

ที่มา : http://hardware.arip.co.th/?p=71
ที่มา : http://www.thepmitr.ac.th/dept/vkarn/computer/
jubpro/computer/hardware.htm

    
 ข้อมูลจะถูกบันทึกลงบนจานแม่เหล็กตามรูปแบบที่ได้ฟอร์แมตไว้แล้ว คือแบ่งในแนววงกลมรอบแกน

หมุนเป็นหลาย ๆ วง เรียกว่า แทรก (Track) แต่ละแทรกจะถูกแบ่งออกในแนวของขนมเค็กเรียกว่า เซก

เตอร์ (sector) และถ้ามีเซกเตอร์มากกว่าหนึ่งเซกเตอร์รวมกันเรียกว่า คลัสเตอร์ (cluster) นอกจากนี้

ในระบบคอมพิวเตอร์ส่วนมากจะมีตารางสำหรับจัดการข้อมูลในแผ่นจานแม่เหล็ก ซึ่งมีหน้าที่เก็บ

ตำแหน่งแทรกและเซกเตอร์ของข้อมูลที่อยู่ภายในจานแม่เหล็ก เรียกตารางนี้ว่า ตารางแฟต (FAT หรือ

File Allocation Table) ซึ่งตารางนี้ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถจัดการกับข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
  
ในปัจจุบันมีจานแม่เหล็กที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดอยู่ 2 ชนิด คือ ฟลอปปี้ดิสก์ (Floppy Disk) และ

ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) โดยเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่จำหน่านในปัจจุบันจะมีดิกส์ไดรฟ์ปละ

ฮาร์ดดิสก์ติดมาด้วยเสมอ

ฟลอปปีดิสก์ และดิสก์ไ
ดรฟ์
 
 ฟลอปปีดิสก์ เป็นแผ่นพลาสติกวงกลม มีขนาด 3.5 นิ้ว และ 5.25 นิ้ว (วัดจากเส้นรอบวงของวงกลม)

สามารถอ่านได้ด้วยดิสก์ไดรฟ์ แผ่นชนิด 3.5 นิ้วเป็นรุ่นใหม่กว่าบรรจุอยู่ในพลาสติกแบบแข็ง ส่วนขนาด

5.25 นิ้วซึ่งไม่ได้รับความนิยมในปัจจุบันแล้ว จะบรรจุอยู่ในพลาสติกที่แข็งกว่าแผ่นดิสเก็ตต์ แต่ยัง

สามารถหักงอได้ เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้จะมีดิสก์ไดรฟ์หนึ่งหรือสองช่องเสมอ ดิสก์

ไดรฟ์มีหน้าที่สองอย่าง คือ อ่านและบันทึก โดยการอ่านมีหลักการทำงานคล้ายกับการเล่นซีดีเพลง

ส่วนการบันทึกมีหลักการทำงานคล้ายกับการบันทึกเสียงลงในเทปบันทึกเสียง ต่างกันก็ตรงที่ผู้ใช้ไม่

ต้องกดปุ่มใด ๆ เมื่อต้องการบันทึกข้อมูล เพราะโปรแกรมที่ใช้งานจะจัดการให้โดยอัตโนมัติ แผ่นดิส

เก็ตต์ จะมี แถบป้องกันการบันทึก (write-protection) อยู่ด้วย ผู้ใช้สามารถเปิดแถบนี้เพื่อห้องกันไม่ให้

มีการบันทึกข้อมูลอื่นทับไปหรือลบข้อมูลทิ้ง

ฟลอปปีดิสก์ (floppy disk)
ดิสก์ไดรฟ์ (disk drive)
ที่มา : http://www.navy34.com/index.php/com-hardware/233-ram-hardware

     
จำนวนข้อมูลที่เก็บอยู่ในแผ่นดิสเก็ตต์ จะขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของสารแม่เหล็กบนผิวของแผ่นดิส

เก็ตต์ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ดิสก์ความจุสองเท่า (double density) ซึ่งจะเก็บข้อมูลได้

มากกว่าดิสก์ที่มีความจุเท่าเดียวที่นิยมใช้ในสมัยก่อน ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ ดิสก์ความจุสูง (high

density) ซึ่งจะเก็บข้อมูลได้มากกว่าดิสก์ที่มีความจุเป็นสองเท่า และเป็นดิสก์ที่นิยมใช้งานกันอยู่ทั่วไป

ออปติคัลดิสก์ (Optical Disk)


    
 มีหลักการทำงานคล้ายกับการเล่นซีดี (CD) เพลง คือใช้เทคโนโลยีของแสงเลเซอร์ ทำให้สามารถเก็บ

ข้อมูลได้จำนวนมหาศาลในราคาไม่แพงนักในปัจจุบันจะมีออปติคอลอยู่หลายแบบซึ่งใช้เทคโนโลยีที่

แตกต่างกันไป คือ ซีดีรอม (CD-ROM หรือ Computer Disk Read Only Memory) 

ที่มา : http://www.streesmutprakan.ac.th/
teacher/techno/WEB%20_JAN/p07/p7.html
ที่มา : http://www.rmu.ac.th/~bandit/elearning/content/lesson2/203.html

     
แผ่นซีดีรอมจะมีลักษณะคล้ายซีดีเพลงมาก สามารถเก็บข้อมูลได้สูงถึง 650 เมตร เมกะไบต์ต่อแผ่น

การใช้งานแผ่นซีดีรอมจะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวซีดีรอมไดร์ฟ (CD-ROM Drive) ซึ่งจะมีหลาย

ชนิดขึ้นกับความเร็วในการทำงาน ซีดีรอมไดร์ฟรุ่นแรกสุดนั้นมีความเร็วในการอ่านข้อมูลที่ 150 กิโลไบต์

ต่อวินาที เรียกว่ามีความเร็ว 1 เท่าหรือ 1x ซีดีรอมไดร์ฟรุ่นหลัง ๆ จะอ้างอิงความเร็วในการอ่านข้อมูล

จากรุ่นแรก เช่น ความเร็ว 2 เท่า (2x) ความเร็ว 4 เท่า(4x) ไปจนถึง 50 เท่า (50x) เป็นต้น
 หน่วยรับข้อมูล (Input unit ) ทำหน้าที่ป้อนคำสั่งเข้าไป ซึ่งหน่วยรับข้อมูลนี้เอง

เปรียบเสมือน

การมองเห็นของตา การได้ยินของหู การได้กลิ่นของจมูก อุปกรณ์ Input unit มี

มากมายหลายหลาย

รูปแบบ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
  
1. หน่วยป้อนข้อมูลเข้าหลัก (Primary Input) คืออุปกรณ์ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง

จำเป็นต้องมี
  
2. หน่วยป้อนข้อมูลเสริม (Alternative Input) คืออุปกรณ์ที่จะมีหรือไม่ก็ได้

คอมพิวเตอร์ก็สามารถทำงานได้ แต่ถ้ามีจะช่วยเพิ่มความสามารถในการป้อนข้อมูล

เข้า เช่น การนำเข้ารูป เสียง เป็นต้น

หน่วยป้อนข้อมูลเข้าหลัก (Primary Input)

 - เมาส์ (Mouse)

 - คีย์บอร์ด (Keyboard)




ภาพอุปกรณ์นำเข้าเมาส์ และคีย์บอร์ด
ที่มา : http://www.rmutphysics.com/CHARUD/oldnews/265/wireless/cp4_2.html


หน่วยป้อนข้อมูลเสริม (Alternative input)



สแกนเนอร์ (Scanner)



กล้อง (Camera)


ไมโครโฟน (Microphone)


ปากกาแสง


จอยสติ๊ก

อ้างอิง

http://computer.kapook.com/equpiment.php

วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555


 หน่วยส่งออก (Output Unit)

คอมพิวเตอร์ติดต่อกับมนุษย์โดยแสดงผลของการทำงานให้มนุษย์รับรู้ทางหน่วยแสดงผล หน่วยแสดงผลที่สำคัญสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ คือ จอภาพ (Monitor) ลำโพง (Speaker) และเครื่องพิมพ์ (Printer) เครื่องขับแผ่นบันทึกนั้นก็นับว่าเป็นหน่วยแสดงผลเหมือนกันเพราะคอมพิวเตอร์อาจจะแสดงผลโดยการบันทึกผลลัพธ์ลงบนแผ่นบันทึกได้
จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์บางอย่างเป็นได้ทั้งอุปกรณ์รับข้อมูลและแสดงผล ซึ่งได้แก่ เครื่องขับแผ่นบันทึก เครื่องขับจานแม่เหล็ก เครื่องขับเทปแม่เหล็ก เป็นต้น โดยจะเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ตามหน้าที่ในขณะที่ทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลัก คือ ถ้าเป็นการนำข้อมูลเข้ามาหน่วยความจำหลัก ก็จะเรียกอุปกรณ์นี้เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล แต่ถ้าเป็นการนำข้อมูลออกจากหน่วยความจำหลัก ก็จะเรียกว่าอุปกรณ์แสดงผล
1. หน่วยส่งออกชั่วคราว1)จอภาพ (Monitor) คืออุปกรณ์ที่แสดงผลให้ผู้ใช้เห็นในเวลาที่ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์และถือได้ว่าเป็นหน่วยส่งออกที่ผู้ใช้คุ้นเคยที่สุด การแสดงผลบนจอภาพเกิดจากการสร้างจุดจำนวนมากเรียงกันทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ประกอบกันเป็นรูปภาพหรือตัวอักษร จำนวนของจุดดังกล่าวจะเป็นตัวกำหนดความชัดเจนของภาพที่เห็นบนจอ     ในยุคต้นของไมโครคอมพิวเตอร์นั้น ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์พยายามนำของใช้ที่มีอยู่ประจำบ้านมาเป็นส่วนประกอบ เช่น นำเอาเครื่องรับโทรทัศน์มาใช้เป็นจอภาพสำหรับแสดงผล แต่ผลที่ได้ออกมาไม่เป็นที่พึงพอใจ จึงได้มีการผลิตจอภาพที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจอภาพที่ผลิตในแต่ละยุคก็มีการพัฒนามาเรื่อย ๆ จนปัจจุบันมีจอภาพที่ใช้งานอยู่ 2 ประเภท ได้แก่

ก)จอภาพแบบซีอาร์ที (Cathode Ray Tube : CRT)



จอภาพแบบซีอาร์ที



จอภาพแบบนี้จะใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไป เป็นจอภาพที่ทำงานโดยใช้เทคโนโลยีหลอดรังสี
อิเล็กตรอนคือการยิงแสงอิเล็กตรอนไปยังผิวด้านในของจอภาพ        ผิวของจอภาพดังกล่าวจะฉาบด้วยสารฟอสฟอรัส ทำให้ตำแหน่งที่มีอิเล็กตรอนวิ่งมาชนเกิดแสงสว่างขึ้น แสงสว่างที่แต่ละจุดทำให้เห็นเป็นภาพ การผลิตจอภาพแบบซีอาร์ทีได้พัฒนาตลอดเวลา เช่น จอภาพเอ็กซ์วีจีเอ   เป็นรุ่นที่ปรับปรุงจากจอภาพสีละเอียดพิเศษ        สามารถแสดงภาพกราฟิกได้ละเอียดขนาด 1,024 x 768 จุดต่อตารางนิ้ว และแสดงสีได้มากกว่า 256 สีพิจารณารายละเอียดทางเทคนิคของจอภาพ      เช่น ขนาดของจอภาพ ซึ่งจะวัดตามแนวเส้นทแยงมุมของจอว่าเป็นขนาดกี่นิ้ว โดยทั่วไปจะมีขนาด 14 นิ้ว จอภาพที่แสดงผลงานกราฟิกบางแบบอาจต้องใช้ขนาดใหญ่ถึง 20 นิ้ว     ความละเอียดของจุดซึ่งสามารถสังเกตได้จากสัญญาณแถบความถี่ของจอภาพ จอภาพแบบวีจีเอควรมีสัญญาณแถบความถี่สูงกว่า 25 เมกะเฮิรตซ์ สัญญาณแถบความถี่ยิ่งสูงยิ่งดี จอภาพแบบเอ็กซ์วีจีเออาจแสดงผลแบบมัลติซิงค์ (Multisync) ใช้สัญญาณแถบความถี่สูงกว่า 60 เมกะเฮิรตซ์ ขนาดของจุดยิ่งเล็กยิ่งมีความคมชัด เช่น ขนาดจุด 0.28 มิลลิเมตร ภาพที่ได้จะคมชัดกว่าขนาดจุด 0.33 มิลลิเมตร ค่าของสัญญาณแถบความถี่จึงเป็นข้อที่จะต้องพิจารณาด้วย
ข)จอภาพแบบแอลซีดี (Liquid Crystal Display : LCD)

จอภาพแบบแอลซีดี

เป็นเทคโนโลยีที่เริ่มการพัฒนามาใช้กับนาฬิกาและเครื่องคิดเลข เป็นจอภาพแสดงผลตัวเลขขนาดเล็ก ใช้หลักการปรับเปลี่ยนโมเลกุลของผลึกเหลว เพื่อปิดกั้นแสงเมื่อมีสนามไฟฟ้าเหนี่ยวนำ แอลซีดีจึงใช้กำลังไฟฟ้าต่ำ เหมาะกับภาคแสดงผลที่ใช้กับแบตเตอรี่หรือถ่านไฟฉายก้อนเล็ก ๆ แอลซีดีในยุคแรกตอบสนองต่อสัญญาณไฟฟ้าช้า จึงเหมาะกับงานแสดงผลตัวเลข แต่ยังไม่เหมาะที่จะนำมาทำเป็นจอภาพ เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น ผู้ผลิตแอลซีดีสามารถผลิตแผงแสดงผลที่มีขนาดใหญ่ขึ้น จนสามารถเป็นจอแสดงผลของคอมพิวเตอร์ประเภทโน้ตบุ๊ก และยังสามารถทำให้แสดงผลเป็นสี อย่างไรก็ตาม จอภาพแอลซีดียังเป็นจอภาพที่มีขนาดเล็ก แต่มีแนวโน้มที่จะพัฒนาให้มีขนาดใหญ่ขึ้น         จอภาพแอลซีดีเริ่มพัฒนามาจากเทคโนโลยีแบบแพสซิฟแมทริกซ์ (Passive Matrix) ที่ใช้เพียงแรงดันไฟฟ้าควบคุมการปิดเปิดแสงให้สะท้อนจุดสีมาเป็นแบบแอ็กทิฟแมทริกซ์ (Active Matrix) ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ตัวเล็ก ๆ เท่าจำนวนจุดสี ควบคุมการปิดเปิดจุดสี เพื่อให้แสงสะท้อนออกมาตามจุดที่ต้องการ ข้อเด่นของแอ็กทิฟแมทริกซ์คือมีมุมมองที่กว้างกว่าเดิมมาก การมองด้านข้างก็ยังเห็นภาพอย่างชัดเจน จอภาพแอลซีดีแบบแอ็กทิฟแมทริกซ์มีแนวโน้มเข้ามาแข่งขันกับจอภาพแบบซีอาร์ทีได้จอภาพแอลซีดีซึ่งมีลักษณะแบนราบ มีขนาดเล็กและบาง เมื่อเปรียบเทียบกับจอภาพแบบซีอาร์ที หากจอภาพแบบแอ็กทิฟแมทริกซ์สามารถพัฒนาให้มีขนาดใหญ่กว่า 15 นิ้วได้ การนำมาใช้แทนจอภาพซีอาร์ทีก็จะมีหนทางมากขึ้นความสำเร็จของจอภาพแอลซีดีที่เข้ามาแข่งขันกับจอภาพแบบซีอาร์ทีอยู่ที่เงื่อนไขสองประการคือ จอภาพแอลซีดีมีราคาแพงกว่าจอภาพซีอาร์ที และมีขนาดจำกัด ในอนาคตแนวโน้มด้านราคาของจอภาพแอลซีดีจะลดลงได้อีกมาก และเทคโนโลยีสำหรับอนาคตมีโอกาสเป็นไปได้สูงมากที่จะทำให้จอภาพแอลซีดีมีขนาดใหญ่
(2)  ลำโพง (Speaker) เป็นอุปกรณ์ส่งออกที่แสดงผลข้อมูลเสียง โดยต้องใช้งานคู่กับอุปกรณ์ที่เรียกว่า “การ์ดเสียง” (Sound Card) ซึ่งเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่เสียบอยู่บนเมนบอร์ด ภายในตัวถังหรือที่เรียกว่า “เคท” (Cartridge) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ตัวนี้ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิตอลที่ส่งมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อกแล้วส่งผ่านไปยังลำโพงซึ่งจะแปลงสัญญาณที่ได้รับเป็นเสียงให้เราได้ยินไม่ว่าจะเป็นเสียงเพลงหรือเสียงเตือนถึงข้อผิดพลาด
 2. หน่วยส่งออกถาวร
หน่วยส่งออกถาวรที่เรารู้จักกันดีและนิยมใช้กันทั่วไปคือ เครื่องพิมพ์ (Printer) ซึ่งสามารถแสดงผลในรูปของงานพิมพ์บนกระดาษที่สามารถจับต้องและพกพาได้ เครื่องพิมพ์ที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณภาพของงานพิมพ์และวิธีการพิมพ์ที่แตกต่างกัน ดังนี้
1) เครื่องพิมพ์แบบจุด (Dot Matrix Printer)

เครื่องพิมพ์แบบจุด

เป็นเครื่องพิมพ์ขนาดเล็ก มีราคาถูก คุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี ใช้งานได้ทั่วไป และที่เรียกว่าเครื่องพิมพ์แบจุดเนื่องจากรูปลักษณะตัวอักษรที่พิมพ์ออกมาจะเป็นจุดเล็ก ๆ           อยู่ในกรอบ เช่น ตัวอักษรที่มีความละเอียดในแนวทางสูงของตัวอักษร 24 จุด และความกว้างแต่ละตัวอักษร 12 จุด ขนาดแมทริกซ์ของตัวอักษรจะมีขนาด 24 x 12 จุด

การพิจารณาซื้อเครื่องพิมพ์แบบจุด ควรพิจารณาคุณลักษณะที่สำคัญของเครื่องพิมพ์ดังต่อไปนี้

1.จำนวนเข็มของหัวพิมพ์ เครื่องพิมพ์ที่ใช้ทั่วไป หัวพิมพ์มีเข็มเล็ก ๆ จำนวน 9 เข็ม แต่ถ้าต้องการให้งานพิมพ์มีรายละเอียดมากหรือมีรูปแบบตัวหนังสือสวยขึ้น หัวพิมพ์ควรมีจำนวนเข็ม 24 เข็ม การพิมพ์ตัวหนังสือในภาวะความสวยงามนี้เรียกว่า “เอ็นแอลคิว” (News Letter Quality : NLQ) ดังนั้นเครื่องพิมพ์ที่หัวพิมพ์มีเข็มจำนวน 24 เข็มจะพิมพ์ได้สวยงามกว่าเครื่องพิมพ์ที่หัวพิมพ์มีเข็มจำนวน 9 เข็ม
2.คุณภาพของหัวเข็มกับงานพิมพ์ หัวเข็มเป็นลวดที่มีกลไกขับเคลื่อน   ใช้หลักการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า  หัวเข็มที่มีคุณภาพดีต้องแข็ง  สามารถพิมพ์สำเนากระดาษหนาได้สูงสุดถึง 5 สำเนา คุณสมบัติการพิมพ์สำเนานี้เครื่องพิมพ์แต่ละเครื่องจะพิมพ์ได้ไม่เท่ากัน เพราะมีคุณภาพแรงกดไม่เท่ากัน ทำให้ความชัดเจนของกระดาษสำเนาสุดท้ายต่างกัน
3.  ความละเอียดของจุดในงานพิมพ์ ความละเอียดของจุดในงานพิมพ์ จะขึ้นอยู่กับขนาดของหัวเข็ม และกลไกการขับเคลื่อนของเครื่องพิมพ์แต่ละรุ่น เช่น 360 x 180 จุดต่อนิ้ว ซึ่งหมายความว่า ความละเอียดทางแนวนอน 360 จุดต่อนิ้ว ทางแนวตั้ง 180 จุดต่อนิ้ว คุณภาพการพิมพ์กราฟิกขึ้นกับคุณลักษณะนี้
4.อุปกรณ์ตรวจสอบหัวพิมพ์ เครื่องพิมพ์แบบจุดบางรุ่นจะมีอุปกรณ์ตรวจสอบหัวพิมพ์ เช่น การตรวจสอบความร้อนของหัวพิมพ์ เพราะเมื่อใช้พิมพ์ไปนาน ๆ หัวพิมพ์จะเกิดความร้อนสูงมาก แม้มีช่องระบายความร้อนแล้วก็อาจไม่พอเพียง ถ้าความร้อนมากอุปกรณ์ตรวจความร้อนจะส่งสัญญาณให้เครื่องพิมพ์ลดความเร็วของการพิมพ์ลง ครั้นเมื่ออุณหภูมิลดลงก็จะเพิ่มความเร็วของการพิมพ์ไปเต็มพิกัดอีกการตรวจสอบความหนาของกระดาษ  เครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่จะมีอุปกรณ์ตรวจสอบความหนาของกระดาษ   ถ้าป้อนกระดาษหนาไปจะทำให้หัวพิมพ์เสียหายได้ง่าย ตัวตรวจสอบความหนาจะหยุดการทำงานของเครื่องพิมพ์ เมื่อตรวจพบว่ากระดาษหนาเกินไป เพื่อป้องกันความเสียหายของหัวพิมพ์ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบว่ากระดาษหมดหรือไม่อีกด้วย
5.ความเร็วของการพิมพ์ ความเร็วของการพิมพ์มีหน่วยวัดเป็นจำนวนตัวอักษรต่อวินาที การวัดความเร็วของเครื่องพิมพ์ต้องมีคุณลักษณะการพิมพ์เป็นจุดอ้างอิง เช่น พิมพ์ได้ 300 ตัวอักษรต่อวินาที ในภาวะการพิมพ์แบบปกติ และที่ขนาดตัวอักษร 10 ตัวอักษรต่อนิ้ว แต่หากพิมพ์แบบเอ็นแอลคิว (NLQ) โดยทั่วไปแล้วจะลดความเร็วเหลือเพียงหนึ่งในสามเท่านั้น การทดสอบความเร็วในการพิมพ์นี้อาจไม่ได้เท่ากับคุณลักษณะที่บอกไว้ ทั้งนี้เพราะขณะพิมพ์จริง เครื่องพิมพ์มีการเลื่อนหัวพิมพ์ขึ้นบรรทัดใหม่ ขึ้นหน้าใหม่ การเลื่อนหัวพิมพ์ไปมาจะทำให้เสียเวลาพอสมควร ความเร็วของเครื่องพิมพ์แบบจุดในปัจจุบัน มีตั้งแต่ 200 – 500 ตัวอักษรต่อวินาที
6.ขนาดแคร่พิมพ์ เครื่องพิมพ์ที่ใช้งานกันอยู่ในขณะนี้มีขนาดแคร่ 2 ขนาด คือ ใช้กับกระดาษกว้าง 9 นิ้ว และ 15 นิ้ว หรือ พิมพ์ได้ 80 ตัวอักษรและ 132 ตัวอักษร ในภาวะ 10 ตัวอักษรต่อนิ้ว
7.ที่พักข้อมูล (Buffer) คุณลักษณะในเรื่องที่พักข้อมูลก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะการพิมพ์งานนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์จะส่งข้อมูลลงไปเก็บในที่พักข้อมูล  ถ้าที่พักข้อมูลมีขนาดใหญ่ก็จะลดภาระการส่งงานของคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องพิมพ์ได้มาก ขนาดของที่พักข้อมูลที่ใช้มีตั้งแต่ 8 กิโลไบต์ขึ้นไป อย่างไรก็ตามเครื่องพิมพ์บางรุ่นสามารถเพิ่มเติมขนาดของที่พักข้อมูลได้โดยการใส่หน่วยความจำลงไป ซึ่งต้องซื้อแยกต่างหาก
8.ลักษณะการป้อนกระดาษ การป้อนกระดาษเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งานเครื่องพิมพ์ คุณลักษณะที่กำหนดต้องชัดเจน การป้อนกระดาษมีตั้งแต่การใช้หนามเตย ซึ่งจะใช้กับกระดาษต่อเนื่องที่มีรูด้านข้างทั้งสองด้าน เครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่มีหนามเตยอยู่แล้ว การป้อนกระดาษอีกแบบหนึ่งคือ การใช้ลูกกลิ้งป้อนกระดาษ โดยอาศัยแรงเสียดทานซึ่งเป็นคุณลักษณะของเครื่องพิมพ์ทั่วไป เครื่องพิมพ์บางรุ่นมีการป้อนกระดาษแบบอัตโนมัติ เพียงแต่ใส่กระดาษแล้วกดปุ่ม Auto Load กระดาษจะป้อนเข้าไปในตำแหน่งที่พร้อมจะเริ่มพิมพ์ได้ทันที การป้อนกระดาษเป็นแผ่น ส่วนใหญ่จะป้อนด้วยมือ แต่หากต้องการทำแบบอัตโนมัติจะต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าว อุปกรณ์นี้จะมีลักษณะเป็นถาดใส่กระดาษอยู่ภายนอก และป้อนกระดาษไปทีละใบเหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์บางเครื่องสามารถป้อนกระดาษเข้าเครื่องได้หลายทาง ทั้งจากด้านหน้า ด้านหลัง ด้านใต้ท้องเครื่อง หรือป้อนทีละแผ่น การป้อนกระดาษหลายทางทำให้สะดวกต่อการใช้งาน
9.ภาวะเก็บเสียง เครื่องพิมพ์แบบจุดเป็นเครื่องพิมพ์ที่มีเสียงดัง ดังนั้น บางบริษัทได้พัฒนาภาวะการพิมพ์ที่เสียงเบากว่าปกติ เพื่อลดมลภาวะทางเสียง
10.จำนวนชุดแบบอักษร เครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่จะมีจำนวนชุดแบบอักษร (Font) ภาษาอังกฤษที่ติดมากับเครื่องจำนวน 4 – 9 ชุด ขึ้นกับเครื่องพิมพ์แต่ละรุ่น ชุดแบบอักษรนี้สามารถเพิ่มได้โดยใช้ตลับชุดแบบอักษร ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ต้องเพิ่มเติม นอกจากนี้การดัดแปลงเพิ่มเติมแบบอักษรภาษาไทยก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่ที่ขายในเมืองไทยได้รับการดัดแปลงใส่ชุดแบบอักษรภาษาไทยไว้แล้ว
11.การเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ตามมาตรฐานสากลมี 2 แบบ คือ แบบอนุกรมและแบบขนาน เครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่มักต่อกับคอมพิวเตอร์โดยมีสายนำสัญญาณแบบ DB25 คือมีขนาดจำนวน 25 สาย การต่อกับเครื่องพิมพ์จะต้องมีสายเชื่อมโยงนี้ด้วย หากต้องการต่อแบอนุกรม จะต้องกำหนดลงไปในเงื่อนไข เพราะเครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่จะมีตัวเชื่อมต่ออนุกรมเป็นเงื่อนไขพิเศษการพิมพ์สี เครื่องพิมพ์บางรุ่นมีภาวะการพิมพ์แบบสีได้ การพิมพ์แบบสีจะทำให้งานพิมพ์ช้าลง และต้องใช้ริบบอนพิเศษหรือริบบอนที่มีสีการสั่งงานที่แป้นสั่งงานบนเครื่อง  ปัจจุบันเครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่จะมีปุ่มควบคุมการสั่งงานอยู่บนเครื่อง และมีจอภาพแอลซีดีขนาดเล็ก เพื่อแสดงภาวะการทำงาน

2)เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)
เครื่องพิมพ์เลเซอร์

เป็นเครื่องพิมพ์ที่กำลังได้รับความนิยม เครื่องพิมพ์นี้อาศัยเทคโนโลยีไฟฟ้าสถิตที่พบได้ในเครื่องถ่ายเอกสารทั่วไป โดยลำแสงจากไดโอดเลเซอร์ (Diode Laser) จะฉายไปยังกระจกหมุนเพื่อสะท้อนไปยังลูกกลิ้งอย่างรวดเร็ว สารเคลือบบนลูกกลิ้งจะทำปฏิกิริยากับแสง แล้วเปลี่ยนเป็นประจุไฟฟ้าสถิต ซึ่งทำให้ผงหมึกเกาะติดกับพื้นที่ที่มีประจุ เมื่อกระดาษพิมพ์หมุนผ่านลูกกลิ้ง ความร้อนจะทำให้ผงหมึกหลอมละลายติดกับกระดาษได้ภาพหรือตัวอักษรตามต้องการ
เนื่องจากลำแสงเลเซอร์ได้รับการควบคุมอย่างแม่นยำ ทำให้ความละเอียดของจุดภาพที่ปรากฏบนกระดาษสูงมาก งานพิมพ์จึงมีคุณภาพสูง ทำให้ได้ภาพและตัวหนังสือที่คมชัด สวยงาม การพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะไม่ส่งเสียงดังเหมือนเครื่องพิมพ์แบบจุด
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่นิยมนำมาใช้งานกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะมีความเร็วของการพิมพ์ประมาณ 6 ถึง 24 หน้าต่อนาที โดยมีความละเอียดของจุดภาพตั้งแต่ 300 จุดต่อนิ้ว จึงทำให้ได้ภาพกราฟิกที่สวยงามและตัวหนังสือที่คมชัด มีชุดแบบอักษรหลายชุด เครื่องพิมพ์เลเซอร์ระดับสูงจะมีความเร็วของการพิมพ์สูงขึ้น คือ ตั้งแต่ 20 หน้าต่อนาที ไปจนถึง 70 หน้าต่อนาที
เทคโนโลยีการพิมพ์ด้วยเครื่องเลเซอร์ได้รับการพัฒนาต่อไป โปรแกรมสร้างภาพกราฟิกจะมีขีดความสามารถสูงขึ้น สามารถสร้างและวาดภาพในลักษณะเป็นชิ้นส่วนวัตถุมาผสมผสานกันให้ดูสวยงามยิ่งขึ้น โปรแกรมต่าง ๆ จะต้องแปลงข้อมูลภาพเป็นคำสั่ง แล้วจึงส่งคำสั่งไปยังเครื่องพิมพ์ ภาพที่สร้างด้วยเครื่องเลเซอร์ยุคใหม่จะมีหน่วยประมลผลหรือไมโครโพรเซสเซอร์อยู่ภายใน สำหรับแปลความหมายคำสั่งเพื่อแบ่งเบาภาระงานของคอมพิวเตอร์ ขณะเดียวกันเครื่องคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำขนาดใหญ่ขึ้น สำหรับประมวลผลข้อมูลภาพได้มากขึ้น คำสั่งหรือภาษาเพื่ออธิบายข้อมูลภาพที่นิยมใช้กับเครื่องเลเซอร์ในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่สามารถใช้ภาษาโพสท์คริปต์ (Postscript)

การเลือกซื้อเครื่องพิมพ์เลเซอร์มาใช้งาน จะต้องพิจารณาคุณลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

1.คุณภาพของการพิมพ์ หน่วยบอกคุณภาพจะระบุเป็นจุดภาพเริ่มจาก 300 จุดภาพต่อนิ้วขึ้นไป ถ้าจำนวนจุดภาพต่อนิ้วสูงมากเท่าใดก็ยิ่งทำให้ภาพคมชัดมากขึ้นเท่านั้น
2. ความเร็วของการพิมพ์ เครื่องพิมพ์เลเซอร์ระดับใช้งานทั่วไปจะมีอัตราความเร็วของการพิมพ์ประมาณ 6 ถึง 24 หน้าต่อนาที  อัตราความเร็วของการพิมพ์ตามที่ระบุไว้ในคุณลักษณะของเครื่องอาจจะไม่ถูกต้องนัก ผู้ใช้อาจทดสอบความเร็วด้วยงานพิมพ์ต่าง ๆ กัน เช่น พิมพ์เอกสารที่เป็นข้อความและภาพกราฟิก แล้วจดบันทึกเวลาเพื่อเปรียบเทียบผล
3.หน่วยความจำของเครื่องพิมพ์ เครื่องพิมพ์เลเซอร์  จะมีหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูลตัวอักษรและจอภาพเอาไว้  ตามปกติจะมีหน่วยความจำไม่น้อยกว่า 1 เมกะไบต์  และสามารถขยายเพิ่มเติมได้อีก เครื่องที่มีหน่วยความจำสูงกว่า ราคาแพงกว่า จะทำงานได้เร็วกว่า เพราะคอมพิวเตอร์สามารถส่งข้อมูลภาพไปพิมพ์ได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาส่งข้อมูลหลาย ๆ ครั้ง

3)เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก (Inkjet Printer)

เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก

เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึกทุกรุ่นใช้หลักการฉีดหมึกเป็นจุดเล็ก ๆ ไปบนกระดาษ เทคโนโลยีที่ใช้ในการฉีดหมึกมี 2 แบบ ได้แก่

(ก)  แบบใช้ความร้อน โดยหัวพิมพ์มีท่อส่งหมึกเล็ก ๆ หลายท่อ ที่ตรงส่วนปลายท่อมีอุปกรณ์ทำให้เกิดความร้อนสูงด้วยกระแสไฟฟ้า ความร้อนจะทำให้หมึกเดือดเป็นฟองพ่นออกสู่กระดาษ และเมื่อหยุดพ่นอุปกรณ์ให้ความร้อนจะเย็นลง การเพิ่มความร้อนและทำให้เย็นลง ทำได้อย่างรวดเร็วหลายร้อยครั้งในหนึ่งวินาที บางครั้งเรียกเครื่องพิมพ์แบบนี้ว่า “บับเบิลเจ็ต” (Bubble Jet Printer)
(ข)  แบบสร้างแรงกดดันด้วยแผ่นเพียโซ (Piezo) ซึ่งเป็นจานเล็ก ๆ ติดอยู่ที่ปลายแผ่นหมึก เมื่อต้องการจะฉีดหมึกก็ให้กระแสไฟฟ้าผ่านแผ่น สร้างความกดดันเพื่อบีบท่อหมึกให้ส่งหมึกออกทางปลายท่อ ฉีดไปยังกระดาษที่ต้องการด้วยเทคโนโลยีการพ่นหมึกทำให้สามารถใส่ท่อหมึกได้หลายท่อ และมีหมึกสีต่าง ๆ จึงทำให้เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึกสามารถพิมพ์ภาพสีได้ เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึกเป็นเครื่องพิมพ์ราคาถูก และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเพราะสามารถพิมพ์ภาพสีได้สวยงาม ความละเอียดการพิมพ์ยังมีขีดจำกัด โดยมีความละเอียดการพิมพ์ไม่น้อยกว่า 360 จุดต่อนิ้ว ความเร็วในการพิมพ์ยังไม่มากนัก เพราะจำเป็นต้องมีการพิมพ์จุดสีจำนวนมาก ซึ่งต้องอาศัยที่พักข้อมูลภายในสำหรับข้อมูลภาพขนาดใหญ่ เครื่องพิมพ์ประเภทนี้มีราคาที่แข่งกับเครื่องพิมพ์ประเภทอื่นได้ แต่ยังมีข้อเสียที่หมึกพิมพ์มีราคาแพงและถ้าหากต้องการให้ได้ภาพที่สวยงามจะต้องใช้กระดาษพิเศษ ซึ่งมีราคาแพงกว่ากระดาษใช้งานทั่วไป


อุปกรณ์ส่งออก


                                                หน่วยส่งออก (Output Unit)
คอมพิวเตอร์ติดต่อกับมนุษย์โดยแสดงผลของการทำงานให้มนุษย์รับรู้ทางหน่วยแสดงผล หน่วยแสดงผลที่สำคัญสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ คือ จอภาพ (Monitor) ลำโพง (Speaker) และเครื่องพิมพ์ (Printer) เครื่องขับแผ่นบันทึกนั้นก็นับว่าเป็นหน่วยแสดงผลเหมือนกันเพราะคอมพิวเตอร์อาจจะแสดงผลโดยการบันทึกผลลัพธ์ลงบนแผ่นบันทึกได้
จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์บางอย่างเป็นได้ทั้งอุปกรณ์รับข้อมูลและแสดงผล ซึ่งได้แก่ เครื่องขับแผ่นบันทึก เครื่องขับจานแม่เหล็ก เครื่องขับเทปแม่เหล็ก เป็นต้น โดยจะเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ตามหน้าที่ในขณะที่ทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลัก คือ ถ้าเป็นการนำข้อมูลเข้ามาหน่วยความจำหลัก ก็จะเรียกอุปกรณ์นี้เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล แต่ถ้าเป็นการนำข้อมูลออกจากหน่วยความจำหลัก ก็จะเรียกว่าอุปกรณ์แสดงผล
1. หน่วยส่งออกชั่วคราว
1)จอภาพ (Monitor) คืออุปกรณ์ที่แสดงผลให้ผู้ใช้เห็นในเวลาที่ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์และถือได้ว่าเป็นหน่วยส่งออกที่ผู้ใช้คุ้นเคยที่สุด การแสดงผลบนจอภาพเกิดจากการสร้างจุดจำนวนมากเรียงกันทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ประกอบกันเป็นรูปภาพหรือตัวอักษร จำนวนของจุดดังกล่าวจะเป็นตัวกำหนดความชัดเจนของภาพที่เห็นบนจอ     ในยุคต้นของไมโครคอมพิวเตอร์นั้น ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์พยายามนำของใช้ที่มีอยู่ประจำบ้านมาเป็นส่วนประกอบ เช่น นำเอาเครื่องรับโทรทัศน์มาใช้เป็นจอภาพสำหรับแสดงผล แต่ผลที่ได้ออกมาไม่เป็นที่พึงพอใจ จึงได้มีการผลิตจอภาพที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจอภาพที่ผลิตในแต่ละยุคก็มีการพัฒนามาเรื่อย ๆ จนปัจจุบันมีจอภาพที่ใช้งานอยู่ 2 ประเภท ได้แก่

ก)จอภาพแบบซีอาร์ที (Cathode Ray Tube : CRT)

จอภาพแบบซีอาร์ที
จอภาพแบบนี้จะใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไป เป็นจอภาพที่ทำงานโดยใช้เทคโนโลยีหลอดรังสีอิเล็กตรอนคือการยิงแสงอิเล็กตรอนไปยังผิวด้านในของจอภาพ ผิวของจอภาพดังกล่าวจะฉาบด้วยสารฟอสฟอรัส ทำให้ตำแหน่งที่มีอิเล็กตรอนวิ่งมาชนเกิดแสงสว่างขึ้น แสงสว่างที่แต่ละจุดทำให้เห็นเป็นภาพ การผลิตจอภาพแบบซีอาร์ทีได้พัฒนาตลอดเวลา เช่น จอภาพเอ็กซ์วีจีเอ (XVGA) เป็นรุ่นที่ปรับปรุงจากจอภาพสีละเอียดพิเศษ สามารถแสดงภาพกราฟิกได้ละเอียดขนาด 1,024 x 768 จุดต่อตารางนิ้ว และแสดงสีได้มากกว่า 256 สีพิจารณารายละเอียดทางเทคนิคของจอภาพ เช่น ขนาดของจอภาพ ซึ่งจะวัดตามแนวเส้นทแยงมุมของจอว่าเป็นขนาดกี่นิ้ว โดยทั่วไปจะมีขนาด 14 นิ้ว จอภาพที่แสดงผลงานกราฟิกบางแบบอาจต้องใช้ขนาดใหญ่ถึง 20 นิ้ว ความละเอียดของจุดซึ่งสามารถสังเกตได้จากสัญญาณแถบความถี่ของจอภาพ จอภาพแบบวีจีเอควรมีสัญญาณแถบความถี่สูงกว่า 25 เมกะเฮิรตซ์ สัญญาณแถบความถี่ยิ่งสูงยิ่งดี จอภาพแบบเอ็กซ์วีจีเออาจแสดงผลแบบมัลติซิงค์ (Multisync) ใช้สัญญาณแถบความถี่สูงกว่า 60 เมกะเฮิรตซ์ ขนาดของจุดยิ่งเล็กยิ่งมีความคมชัด เช่น ขนาดจุด 0.28 มิลลิเมตร ภาพที่ได้จะคมชัดกว่าขนาดจุด 0.33 มิลลิเมตร ค่าของสัญญาณแถบความถี่จึงเป็นข้อที่จะต้องพิจารณาด้วย
ข)จอภาพแบบแอลซีดี (Liquid Crystal Display : LCD)

จอภาพแบบแอลซีดี

เป็นเทคโนโลยีที่เริ่มการพัฒนามาใช้กับนาฬิกาและเครื่องคิดเลข เป็นจอภาพแสดงผลตัวเลขขนาดเล็ก ใช้หลักการปรับเปลี่ยนโมเลกุลของผลึกเหลว เพื่อปิดกั้นแสงเมื่อมีสนามไฟฟ้าเหนี่ยวนำ แอลซีดีจึงใช้กำลังไฟฟ้าต่ำ เหมาะกับภาคแสดงผลที่ใช้กับแบตเตอรี่หรือถ่านไฟฉายก้อนเล็ก ๆ แอลซีดีในยุคแรกตอบสนองต่อสัญญาณไฟฟ้าช้า จึงเหมาะกับงานแสดงผลตัวเลข แต่ยังไม่เหมาะที่จะนำมาทำเป็นจอภาพ เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น ผู้ผลิตแอลซีดีสามารถผลิตแผงแสดงผลที่มีขนาดใหญ่ขึ้น จนสามารถเป็นจอแสดงผลของคอมพิวเตอร์ประเภทโน้ตบุ๊ก และยังสามารถทำให้แสดงผลเป็นสี อย่างไรก็ตาม จอภาพแอลซีดียังเป็นจอภาพที่มีขนาดเล็ก แต่มีแนวโน้มที่จะพัฒนาให้มีขนาดใหญ่ขึ้น         จอภาพแอลซีดีเริ่มพัฒนามาจากเทคโนโลยีแบบแพสซิฟแมทริกซ์ (Passive Matrix) ที่ใช้เพียงแรงดันไฟฟ้าควบคุมการปิดเปิดแสงให้สะท้อนจุดสีมาเป็นแบบแอ็กทิฟแมทริกซ์ (Active Matrix) ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ตัวเล็ก ๆ เท่าจำนวนจุดสี ควบคุมการปิดเปิดจุดสี เพื่อให้แสงสะท้อนออกมาตามจุดที่ต้องการ ข้อเด่นของแอ็กทิฟแมทริกซ์คือมีมุมมองที่กว้างกว่าเดิมมาก การมองด้านข้างก็ยังเห็นภาพอย่างชัดเจน จอภาพแอลซีดีแบบแอ็กทิฟแมทริกซ์มีแนวโน้มเข้ามาแข่งขันกับจอภาพแบบซีอาร์ทีได้จอภาพแอลซีดีซึ่งมีลักษณะแบนราบ มีขนาดเล็กและบาง เมื่อเปรียบเทียบกับจอภาพแบบซีอาร์ที หากจอภาพแบบแอ็กทิฟแมทริกซ์สามารถพัฒนาให้มีขนาดใหญ่กว่า 15 นิ้วได้ การนำมาใช้แทนจอภาพซีอาร์ทีก็จะมีหนทางมากขึ้นความสำเร็จของจอภาพแอลซีดีที่เข้ามาแข่งขันกับจอภาพแบบซีอาร์ทีอยู่ที่เงื่อนไขสองประการคือ จอภาพแอลซีดีมีราคาแพงกว่าจอภาพซีอาร์ที และมีขนาดจำกัด ในอนาคตแนวโน้มด้านราคาของจอภาพแอลซีดีจะลดลงได้อีกมาก และเทคโนโลยีสำหรับอนาคตมีโอกาสเป็นไปได้สูงมากที่จะทำให้จอภาพแอลซีดีมีขนาดใหญ่
(2)  ลำโพง (Speaker) เป็นอุปกรณ์ส่งออกที่แสดงผลข้อมูลเสียง โดยต้องใช้งานคู่กับอุปกรณ์ที่เรียกว่า “การ์ดเสียง” (Sound Card) ซึ่งเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่เสียบอยู่บนเมนบอร์ด ภายในตัวถังหรือที่เรียกว่า “เคท” (Cartridge) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ตัวนี้ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิตอลที่ส่งมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อกแล้วส่งผ่านไปยังลำโพงซึ่งจะแปลงสัญญาณที่ได้รับเป็นเสียงให้เราได้ยินไม่ว่าจะเป็นเสียงเพลงหรือเสียงเตือนถึงข้อผิดพลาด
2. หน่วยส่งออกถาวร
หน่วยส่งออกถาวรที่เรารู้จักกันดีและนิยมใช้กันทั่วไปคือ เครื่องพิมพ์ (Printer) ซึ่งสามารถแสดงผลในรูปของงานพิมพ์บนกระดาษที่สามารถจับต้องและพกพาได้ เครื่องพิมพ์ที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณภาพของงานพิมพ์และวิธีการพิมพ์ที่แตกต่างกัน ดังนี้
1) เครื่องพิมพ์แบบจุด (Dot Matrix Printer)

เครื่องพิมพ์แบบจุด
เป็นเครื่องพิมพ์ขนาดเล็ก มีราคาถูก คุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี ใช้งานได้ทั่วไป และที่เรียกว่าเครื่องพิมพ์แบจุดเนื่องจากรูปลักษณะตัวอักษรที่พิมพ์ออกมาจะเป็นจุดเล็ก ๆ อยู่ในกรอบ เช่น ตัวอักษรที่มีความละเอียดในแนวทางสูงของตัวอักษร 24 จุด และความกว้างแต่ละตัวอักษร 12 จุด ขนาดแมทริกซ์ของตัวอักษรจะมีขนาด 24 x 12 จุด
การพิจารณาซื้อเครื่องพิมพ์แบบจุด ควรพิจารณาคุณลักษณะที่สำคัญของเครื่องพิมพ์ดังต่อไปนี้
1.จำนวนเข็มของหัวพิมพ์ เครื่องพิมพ์ที่ใช้ทั่วไป หัวพิมพ์มีเข็มเล็ก ๆ จำนวน 9 เข็ม แต่ถ้าต้องการให้งานพิมพ์มีรายละเอียดมากหรือมีรูปแบบตัวหนังสือสวยขึ้น หัวพิมพ์ควรมีจำนวนเข็ม 24 เข็ม การพิมพ์ตัวหนังสือในภาวะความสวยงามนี้เรียกว่า “เอ็นแอลคิว” (News Letter Quality : NLQ) ดังนั้นเครื่องพิมพ์ที่หัวพิมพ์มีเข็มจำนวน 24 เข็มจะพิมพ์ได้สวยงามกว่าเครื่องพิมพ์ที่หัวพิมพ์มีเข็มจำนวน 9 เข็ม
2.คุณภาพของหัวเข็มกับงานพิมพ์ หัวเข็มเป็นลวดที่มีกลไกขับเคลื่อน   ใช้หลักการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า  หัวเข็มที่มีคุณภาพดีต้องแข็ง  สามารถพิมพ์สำเนากระดาษหนาได้สูงสุดถึง 5 สำเนา คุณสมบัติการพิมพ์สำเนานี้เครื่องพิมพ์แต่ละเครื่องจะพิมพ์ได้ไม่เท่ากัน เพราะมีคุณภาพแรงกดไม่เท่ากัน ทำให้ความชัดเจนของกระดาษสำเนาสุดท้ายต่างกัน
3.  ความละเอียดของจุดในงานพิมพ์ ความละเอียดของจุดในงานพิมพ์ จะขึ้นอยู่กับขนาดของหัวเข็ม และกลไกการขับเคลื่อนของเครื่องพิมพ์แต่ละรุ่น เช่น 360 x 180 จุดต่อนิ้ว ซึ่งหมายความว่า ความละเอียดทางแนวนอน 360 จุดต่อนิ้ว ทางแนวตั้ง 180 จุดต่อนิ้ว คุณภาพการพิมพ์กราฟิกขึ้นกับคุณลักษณะนี้
4.อุปกรณ์ตรวจสอบหัวพิมพ์ เครื่องพิมพ์แบบจุดบางรุ่นจะมีอุปกรณ์ตรวจสอบหัวพิมพ์ เช่น การตรวจสอบความร้อนของหัวพิมพ์ เพราะเมื่อใช้พิมพ์ไปนาน ๆ หัวพิมพ์จะเกิดความร้อนสูงมาก แม้มีช่องระบายความร้อนแล้วก็อาจไม่พอเพียง ถ้าความร้อนมากอุปกรณ์ตรวจความร้อนจะส่งสัญญาณให้เครื่องพิมพ์ลดความเร็วของการพิมพ์ลง ครั้นเมื่ออุณหภูมิลดลงก็จะเพิ่มความเร็วของการพิมพ์ไปเต็มพิกัดอีกการตรวจสอบความหนาของกระดาษ  เครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่จะมีอุปกรณ์ตรวจสอบความหนาของกระดาษ   ถ้าป้อนกระดาษหนาไปจะทำให้หัวพิมพ์เสียหายได้ง่าย ตัวตรวจสอบความหนาจะหยุดการทำงานของเครื่องพิมพ์ เมื่อตรวจพบว่ากระดาษหนาเกินไป เพื่อป้องกันความเสียหายของหัวพิมพ์ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบว่ากระดาษหมดหรือไม่อีกด้วย
5.ความเร็วของการพิมพ์ ความเร็วของการพิมพ์มีหน่วยวัดเป็นจำนวนตัวอักษรต่อวินาที การวัดความเร็วของเครื่องพิมพ์ต้องมีคุณลักษณะการพิมพ์เป็นจุดอ้างอิง เช่น พิมพ์ได้ 300 ตัวอักษรต่อวินาที ในภาวะการพิมพ์แบบปกติ และที่ขนาดตัวอักษร 10 ตัวอักษรต่อนิ้ว แต่หากพิมพ์แบบเอ็นแอลคิว (NLQ) โดยทั่วไปแล้วจะลดความเร็วเหลือเพียงหนึ่งในสามเท่านั้น การทดสอบความเร็วในการพิมพ์นี้อาจไม่ได้เท่ากับคุณลักษณะที่บอกไว้ ทั้งนี้เพราะขณะพิมพ์จริง เครื่องพิมพ์มีการเลื่อนหัวพิมพ์ขึ้นบรรทัดใหม่ ขึ้นหน้าใหม่ การเลื่อนหัวพิมพ์ไปมาจะทำให้เสียเวลาพอสมควร ความเร็วของเครื่องพิมพ์แบบจุดในปัจจุบัน มีตั้งแต่ 200 – 500 ตัวอักษรต่อวินาที
6.ขนาดแคร่พิมพ์ เครื่องพิมพ์ที่ใช้งานกันอยู่ในขณะนี้มีขนาดแคร่ 2 ขนาด คือ ใช้กับกระดาษกว้าง 9 นิ้ว และ 15 นิ้ว หรือ พิมพ์ได้ 80 ตัวอักษรและ 132 ตัวอักษร ในภาวะ 10 ตัวอักษรต่อนิ้ว
7.ที่พักข้อมูล (Buffer) คุณลักษณะในเรื่องที่พักข้อมูลก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะการพิมพ์งานนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์จะส่งข้อมูลลงไปเก็บในที่พักข้อมูล  ถ้าที่พักข้อมูลมีขนาดใหญ่ก็จะลดภาระการส่งงานของคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องพิมพ์ได้มาก ขนาดของที่พักข้อมูลที่ใช้มีตั้งแต่ 8 กิโลไบต์ขึ้นไป อย่างไรก็ตามเครื่องพิมพ์บางรุ่นสามารถเพิ่มเติมขนาดของที่พักข้อมูลได้โดยการใส่หน่วยความจำลงไป ซึ่งต้องซื้อแยกต่างหาก
8.ลักษณะการป้อนกระดาษ การป้อนกระดาษเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งานเครื่องพิมพ์ คุณลักษณะที่กำหนดต้องชัดเจน การป้อนกระดาษมีตั้งแต่การใช้หนามเตย ซึ่งจะใช้กับกระดาษต่อเนื่องที่มีรูด้านข้างทั้งสองด้าน เครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่มีหนามเตยอยู่แล้ว การป้อนกระดาษอีกแบบหนึ่งคือ การใช้ลูกกลิ้งป้อนกระดาษ โดยอาศัยแรงเสียดทานซึ่งเป็นคุณลักษณะของเครื่องพิมพ์ทั่วไป เครื่องพิมพ์บางรุ่นมีการป้อนกระดาษแบบอัตโนมัติ เพียงแต่ใส่กระดาษแล้วกดปุ่ม Auto Load กระดาษจะป้อนเข้าไปในตำแหน่งที่พร้อมจะเริ่มพิมพ์ได้ทันที การป้อนกระดาษเป็นแผ่น ส่วนใหญ่จะป้อนด้วยมือ แต่หากต้องการทำแบบอัตโนมัติจะต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าว อุปกรณ์นี้จะมีลักษณะเป็นถาดใส่กระดาษอยู่ภายนอก และป้อนกระดาษไปทีละใบเหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์บางเครื่องสามารถป้อนกระดาษเข้าเครื่องได้หลายทาง ทั้งจากด้านหน้า ด้านหลัง ด้านใต้ท้องเครื่อง หรือป้อนทีละแผ่น การป้อนกระดาษหลายทางทำให้สะดวกต่อการใช้งาน
9.ภาวะเก็บเสียง เครื่องพิมพ์แบบจุดเป็นเครื่องพิมพ์ที่มีเสียงดัง ดังนั้น บางบริษัทได้พัฒนาภาวะการพิมพ์ที่เสียงเบากว่าปกติ เพื่อลดมลภาวะทางเสียง
10.จำนวนชุดแบบอักษร เครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่จะมีจำนวนชุดแบบอักษร (Font) ภาษาอังกฤษที่ติดมากับเครื่องจำนวน 4 – 9 ชุด ขึ้นกับเครื่องพิมพ์แต่ละรุ่น ชุดแบบอักษรนี้สามารถเพิ่มได้โดยใช้ตลับชุดแบบอักษร ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ต้องเพิ่มเติม นอกจากนี้การดัดแปลงเพิ่มเติมแบบอักษรภาษาไทยก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่ที่ขายในเมืองไทยได้รับการดัดแปลงใส่ชุดแบบอักษรภาษาไทยไว้แล้ว
11.การเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ตามมาตรฐานสากลมี 2 แบบ คือ แบบอนุกรมและแบบขนาน เครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่มักต่อกับคอมพิวเตอร์โดยมีสายนำสัญญาณแบบ DB25 คือมีขนาดจำนวน 25 สาย การต่อกับเครื่องพิมพ์จะต้องมีสายเชื่อมโยงนี้ด้วย หากต้องการต่อแบอนุกรม จะต้องกำหนดลงไปในเงื่อนไข เพราะเครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่จะมีตัวเชื่อมต่ออนุกรมเป็นเงื่อนไขพิเศษการพิมพ์สี เครื่องพิมพ์บางรุ่นมีภาวะการพิมพ์แบบสีได้ การพิมพ์แบบสีจะทำให้งานพิมพ์ช้าลง และต้องใช้ริบบอนพิเศษหรือริบบอนที่มีสีการสั่งงานที่แป้นสั่งงานบนเครื่อง  ปัจจุบันเครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่จะมีปุ่มควบคุมการสั่งงานอยู่บนเครื่อง และมีจอภาพแอลซีดีขนาดเล็ก เพื่อแสดงภาวะการทำงาน

2)เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)
เครื่องพิมพ์เลเซอร์

เป็นเครื่องพิมพ์ที่กำลังได้รับความนิยม เครื่องพิมพ์นี้อาศัยเทคโนโลยีไฟฟ้าสถิตที่พบได้ในเครื่องถ่ายเอกสารทั่วไป โดยลำแสงจากไดโอดเลเซอร์ (Diode Laser) จะฉายไปยังกระจกหมุนเพื่อสะท้อนไปยังลูกกลิ้งอย่างรวดเร็ว สารเคลือบบนลูกกลิ้งจะทำปฏิกิริยากับแสง แล้วเปลี่ยนเป็นประจุไฟฟ้าสถิต ซึ่งทำให้ผงหมึกเกาะติดกับพื้นที่ที่มีประจุ เมื่อกระดาษพิมพ์หมุนผ่านลูกกลิ้ง ความร้อนจะทำให้ผงหมึกหลอมละลายติดกับกระดาษได้ภาพหรือตัวอักษรตามต้องการ
เนื่องจากลำแสงเลเซอร์ได้รับการควบคุมอย่างแม่นยำ ทำให้ความละเอียดของจุดภาพที่ปรากฏบนกระดาษสูงมาก งานพิมพ์จึงมีคุณภาพสูง ทำให้ได้ภาพและตัวหนังสือที่คมชัด สวยงาม การพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะไม่ส่งเสียงดังเหมือนเครื่องพิมพ์แบบจุด
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่นิยมนำมาใช้งานกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะมีความเร็วของการพิมพ์ประมาณ 6 ถึง 24 หน้าต่อนาที โดยมีความละเอียดของจุดภาพตั้งแต่ 300 จุดต่อนิ้ว จึงทำให้ได้ภาพกราฟิกที่สวยงามและตัวหนังสือที่คมชัด มีชุดแบบอักษรหลายชุด เครื่องพิมพ์เลเซอร์ระดับสูงจะมีความเร็วของการพิมพ์สูงขึ้น คือ ตั้งแต่ 20 หน้าต่อนาที ไปจนถึง 70 หน้าต่อนาที
เทคโนโลยีการพิมพ์ด้วยเครื่องเลเซอร์ได้รับการพัฒนาต่อไป โปรแกรมสร้างภาพกราฟิกจะมีขีดความสามารถสูงขึ้น สามารถสร้างและวาดภาพในลักษณะเป็นชิ้นส่วนวัตถุมาผสมผสานกันให้ดูสวยงามยิ่งขึ้น โปรแกรมต่าง ๆ จะต้องแปลงข้อมูลภาพเป็นคำสั่ง แล้วจึงส่งคำสั่งไปยังเครื่องพิมพ์ ภาพที่สร้างด้วยเครื่องเลเซอร์ยุคใหม่จะมีหน่วยประมลผลหรือไมโครโพรเซสเซอร์อยู่ภายใน สำหรับแปลความหมายคำสั่งเพื่อแบ่งเบาภาระงานของคอมพิวเตอร์ ขณะเดียวกันเครื่องคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำขนาดใหญ่ขึ้น สำหรับประมวลผลข้อมูลภาพได้มากขึ้น คำสั่งหรือภาษาเพื่ออธิบายข้อมูลภาพที่นิยมใช้กับเครื่องเลเซอร์ในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่สามารถใช้ภาษาโพสท์คริปต์ (Postscript)
การเลือกซื้อเครื่องพิมพ์เลเซอร์มาใช้งาน จะต้องพิจารณาคุณลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. คุณภาพของการพิมพ์ หน่วยบอกคุณภาพจะระบุเป็นจุดภาพเริ่มจาก 300 จุดภาพต่อนิ้วขึ้นไป ถ้าจำนวนจุดภาพต่อนิ้วสูงมากเท่าใดก็ยิ่งทำให้ภาพคมชัดมากขึ้นเท่านั้น
2. ความเร็วของการพิมพ์ เครื่องพิมพ์เลเซอร์ระดับใช้งานทั่วไปจะมีอัตราความเร็วของการพิมพ์ประมาณ 6 ถึง 24 หน้าต่อนาที  อัตราความเร็วของการพิมพ์ตามที่ระบุไว้ในคุณลักษณะของเครื่องอาจจะไม่ถูกต้องนัก ผู้ใช้อาจทดสอบความเร็วด้วยงานพิมพ์ต่าง ๆ กัน เช่น พิมพ์เอกสารที่เป็นข้อความและภาพกราฟิก แล้วจดบันทึกเวลาเพื่อเปรียบเทียบผล
3.หน่วยความจำของเครื่องพิมพ์ เครื่องพิมพ์เลเซอร์  จะมีหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูลตัวอักษรและจอภาพเอาไว้  ตามปกติจะมีหน่วยความจำไม่น้อยกว่า 1 เมกะไบต์  และสามารถขยายเพิ่มเติมได้อีก เครื่องที่มีหน่วยความจำสูงกว่า ราคาแพงกว่า จะทำงานได้เร็วกว่า เพราะคอมพิวเตอร์สามารถส่งข้อมูลภาพไปพิมพ์ได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาส่งข้อมูลหลาย ๆ ครั้ง
3)เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก (Inkjet Printer)
เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก

เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึกทุกรุ่นใช้หลักการฉีดหมึกเป็นจุดเล็ก ๆ ไปบนกระดาษ เทคโนโลยีที่ใช้ในการฉีดหมึกมี 2 แบบ ได้แก่
(ก)  แบบใช้ความร้อน โดยหัวพิมพ์มีท่อส่งหมึกเล็ก ๆ หลายท่อ ที่ตรงส่วนปลายท่อมีอุปกรณ์ทำให้เกิดความร้อนสูงด้วยกระแสไฟฟ้า ความร้อนจะทำให้หมึกเดือดเป็นฟองพ่นออกสู่กระดาษ และเมื่อหยุดพ่นอุปกรณ์ให้ความร้อนจะเย็นลง การเพิ่มความร้อนและทำให้เย็นลง ทำได้อย่างรวดเร็วหลายร้อยครั้งในหนึ่งวินาที บางครั้งเรียกเครื่องพิมพ์แบบนี้ว่า “บับเบิลเจ็ต” (Bubble Jet Printer)
(ข)  แบบสร้างแรงกดดันด้วยแผ่นเพียโซ (Piezo) ซึ่งเป็นจานเล็ก ๆ ติดอยู่ที่ปลายแผ่นหมึก เมื่อต้องการจะฉีดหมึกก็ให้กระแสไฟฟ้าผ่านแผ่น สร้างความกดดันเพื่อบีบท่อหมึกให้ส่งหมึกออกทางปลายท่อ ฉีดไปยังกระดาษที่ต้องการด้วยเทคโนโลยีการพ่นหมึกทำให้สามารถใส่ท่อหมึกได้หลายท่อ และมีหมึกสีต่าง ๆ จึงทำให้เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึกสามารถพิมพ์ภาพสีได้ เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึกเป็นเครื่องพิมพ์ราคาถูก และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเพราะสามารถพิมพ์ภาพสีได้สวยงาม ความละเอียดการพิมพ์ยังมีขีดจำกัด โดยมีความละเอียดการพิมพ์ไม่น้อยกว่า 360 จุดต่อนิ้ว ความเร็วในการพิมพ์ยังไม่มากนัก เพราะจำเป็นต้องมีการพิมพ์จุดสีจำนวนมาก ซึ่งต้องอาศัยที่พักข้อมูลภายในสำหรับข้อมูลภาพขนาดใหญ่ เครื่องพิมพ์ประเภทนี้มีราคาที่แข่งกับเครื่องพิมพ์ประเภทอื่นได้ แต่ยังมีข้อเสียที่หมึกพิมพ์มีราคาแพงและถ้าหากต้องการให้ได้ภาพที่สวยงามจะต้องใช้กระดาษพิเศษ ซึ่งมีราคาแพงกว่ากระดาษใช้งานทั่วไป